ในกาลก่อน มีเศรษฐีคนหนึ่งมีชื่อเรียกกันว่า “นนท์” ตั้งบ้านเรือนอยู่ในบ้านชื่อว่า

“สนิทคาม” เป็นผู้ไม่มีลูกเลยครั้งหนึ่งนนท์เศรษฐีนั้นรำพึงอยู่ในใจว่า “เราไม่มีลูกกับ

เขาเลยจำเราจะทำบุญแล้วอธิษฐานขอลูก บางทีจะสมประสงค์บ้าง”  คิดดังนั้นแล้วก็หาก

ล้วยได้สิบสองผลทูลศรีษะไปวัดถวายกล้วยนั้นแก่พระแล้วตั้งความปรารถนาขอลูก

ต่อนั้นมาภริยาเศรษฐีนั้นก็มีลูกหญิง เป็นลำดับกันไปถึงสิบสองคน (ตามเรื่องที่เล่ากัน

นางคนสุดท้องชื่อนางเภา) สองคนผัวเมียได้เลี้ยงลูกหญิงทั้งสิบสองนั้น ทรัพย์สมบัติของ

ตนร่อยหรอลงทุกทีจนสิ้นเนื้อประดาตัวบ่าวไพ่ก็พากันหนีหายไปตามกัน ในที่สุดสอง

ผัวเมียนั้นก็ถึงแก่ยากจน ภายหลังนนท์เศรษฐีคิดขัดใจว่าเป็นเพราะลูกหญิงสิบสอง

คนนี้เองทำให้ตนยากจนลง จึงเอาลูกหญิงทั้งสิบสองคนนั้นใส่เกวียนพาไปปล่อยเสีย

ในป่า แล้วก็ขับเกวียนลอบหนีกลับมาบ้านเรือนโดยมิให้รู้ตัว

 

ส่วนนางสิบสองคนเมื่อถูกปล่อยไว้ในป่าเช่นนั้น ต่างก็เที่ยวตามหาบิดาไปในที่

ต่างๆ จนไปถึงสวนของ นางยักษ์ชื่อว่า สนธมารขณะนั้นนางยักษ์สนธมารมาเที่ยว

เล่นอยู่ในสวน ครั้นได้เห็นนางสิบสองเดินซัดเซมาดังนั้น ก็มีจิตรักใคร่ จึงพาไป

เลี้ยงไว้เหมือนน้องสาวของตัวทั้งสิบสองคน

 

วันหนึ่ง พี่สาวใหญ่ได้เห็นนางยักษ์กินเนื้อคน จึงบอกแก่พวกน้องๆ ว่า “พวกเรา

พากันมาอยู่ในสำนักของนางยักษ์เป็นแน่” แล้วก็เล่าความลับที่ตนได้เห็นมานั้นให้

น้องสาวฟังทุกประการ พวกน้องสาวได้ฟังก็ตกในกลัว ครั้นเวลานางยักษ์ไม่อยู่ก็

พากันหนีไปทั้งสิบสองคน เมื่อนางยักษ์กลับมาไม่เห็นนางสิบสองก็ออกติดตามไป

ส่วนนางสิบสองนั้นหนีไปได้ไม่สู้ไกลนัก ก็เห็นนางยักษ์ตามมา ต่างตกใจกลัว

พากันวิ่งมาพบช้าง จึงอ้อนวอนช้างขอให้ช่วย ช้างจึงหาที่ซ่อนให้นางทั้งสิบสองคน

นางยักษ์เที่ยวตามหานางสิบสองไม่พบ

 

ครั้นมาพบช้างนางจึงถามว่า “ช้าง เจ้าเห็นนางสิบสองมาทางนี้บ้างหรือไม่”

ช้างตอบว่า “ไม่เห็น” นางยักษ์ก็กลับไป เมื่อนางสิบสองเห็นนางยักษ์ไปพ้น

แล้วจึงออกจากที่ซ่อนแล้วพากันหนีต่อไป ไม้ช้านางยักษ์ก็ตามมาอีก  นางสิบสอง

วิ่งมาพบม้า ม้าก็หาที่ซ่อนให้เช่นเดียวกัน นางยักษ์ไม่เห็นจึงถามม้าว่า

“ม้า เจ้าเห็นนางสิบสองบ้างหรือไม่”  ม้าตอบว่า “ไม่เห็น” นางยักษ์ก็กลับไปอีก

ฝ่ายนางสิบสองเห็นนางยักษ์ไปพ้นแล้วก็ออกจากที่ซ่อน พากันหนีต่อไป และ

นางยักษ์ก็ตามมาอีกนางสิบสองวิ่งมาพบโค โคก็หาที่ซ่อนให้เช่นเดียวกัน

เมืองนางยักษ์ไม่เห็นก็ถามโคว่า  “โค เจ้าเห็นนางสิบสองบ้างหรือไม่” โคตอบว่า

“ไม่เห็น” นางยักษ์กลับไปอีก

 

ครั้นแล้วนางสิบสองก็ออกจากที่ซ่อน เที่ยวดั้นด้นหนีไปตามบุญตามกรรม

จนถึงเมืองกุตารนคร เห็นต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งอยู่ริมสระใกล้กับพระนคร ต่างก็พา

กันขึ้นไปนั่งพักอยู่บนต้นไทรนั้นครั้งนั้นเจ้าเมืองกุตารนครทรงพระนาม

ว่าพรเจ่ารถสิทธ์ราชพระองค์ได้ประทานหม้อน้ำทองแก่นางค่อมทาสีคนหนึ่ง

หรับตักน้ำสรงถวาย ครั้นถึงเวลานางค่อมก็ถือหม้อน้ำทองไปยังสระนั้นรัศมี

ของนางสอบสองซึ่งตนี่งอยู่บนต้นไทรนั้น ฉายส่องสว่างลงมาถูกตัวนางค่อม

แลดูงามเหมือนแสงทอง นางค่อมจึงสำคัญตัวว่านางมีบุญมาสีกายเป็นสีทอง

งดงามถึงปานนั้น ไม่สมควรจะเป็นหญิงตักน้ำเลย ทำให้นางทะนงตัวถึง

แก่โกรธแค้นทุบหม้อน้ำทองนั้นบุบสลายสิ้น ครั้นนางรู้สึกตนเห็นหม้อน้ำนั้นแตก

เสียแล้ว จึงกลับมากราบทูลพระเจ้ารถสิทธิ์ พระเจ้ารถสิทธ์ก็ประทานหม้อน้ำเงิน

ให้ใหม่ นางค่อมก็นำไปยังสระนั้น และเมื่อเห็นตัวนางงดงามเหมือนคราวก่อนก็

บันดาลโทสะขึ้นมา ทุบหม้อน้ำเงินนั้นเสียอีก แล้วกลับมากราบทูลพระเจ้ารถสิทธ์

พระเจ้ารถสิทธ์ก็ประทานหม้อน้ำทำด้วยหนังให้ใหม่ นางค่อมก็ไปยังสระ เกิด

เหตุเช่นนั้นอีก แต่คราวนี้นางทุบหม้อนั้นเท่าไรก็ไม่แตกเพราะหม้อนั้นเป็นหนัง

ส่วนนางสิบสองซึ่งอยู่บนต้นไทรแลเห็นนางค่อมทำดังนั้น ก็อดกลั้นหัวเราะไม่ได้

จึงพากันหัวเราะขึ้น นางค่อมได้ยินเสียงหัวเราะจึงเงยหน้าขึ้นไปดู แลเห็นนางสิบสอง

คนนั่งอยู่บนต้นไทรใหญ่ มีรัศมีงดงาม ก็มีความประหลาดใจ รีบกลับมากราบทูล

พระเจ้ารถสิทธ์ให้ทรา[ พระเจ้ารถสิทธ์ได้ทรงทราบก็ประหลาดพระทัย จึงเสด็จ

ออกจากพระนครพร้อมด้วยราชบริพาร ครั้นได้ทอด พระเนตรเห็นนางสิบสอง

มีรูปโฉมงดงามดังนั้น มีพระทัยยินดีเป็นอันมากตรัสเรียกนางสิบสองให้ลงมาจาก

ต้นไทร ทรงซักไซร้ไต่ถามทราบความว่า นางสิบสองคนนั้นยังมิได้มีสามีก็โปรด

ทรงสั่งให้นำวอมารับเข้าไปยัง พระราชวังทั้งสิบสองคน แล้วให้จัดการอภิเษก

ให้เป็นมเหสี  มีการมหรสพสมโภชเอิกเกริกทั่วพระนคร และนางสิบสองนั้นก็ได้

เป็นมเหสี เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้ารถ สิทธ์เจ้าเมืองกุตารนครตั้งแต่นั้นมา

 

ในมิช้านางยักษ์สนธมารทราบว่า นางสิบสองซึ่งหนีไปนั้นได้เป็นมเหสีของพระเจ้า

รถสิทธ์ผู้ครองเมืองกุตารนคร  ก็มีความเคืองแค้นยิ่งนัก จึงสำแดงฤทธิ์รีบออกจาก

เมืองคชปุระไปยังเมืองกุตารนครในทันใดนั้น ครั้นถึงต้นไทร ใหญ่ริมสระ นางจึงแปลงกาย

เป็นหญิงมนุษย์ มีรูปโฉมสะสวยยิ่งนัก มีรัศมีเปล่งปลั่งดังพระจันทร์เต็มดวง แล้วก็ขึ้นไปนั่งบน

ต้นไทร ครั้นนางค่อมไปตักน้ำที่สระนั้น แลเห็นรัศมีฉายลงเช่นก่อน แลดูขึ้นไปบนต้นไทร

เห็นนางแปลงรูปงดงามเช่นนั้นก็รีบกลับไปกราบทูลพระเจ้ารถสิทธ์ว่า มีนางเทพธิดามา

สถิตอยู่บนต้นไทรนั้นอีกพระเจ้ารถสิทธ์ได้ทรงทราบ ก็รีบเสด็จไปพร้อมด้วยราชบริพาร

ครั้นได้ทอดพระเนตรเห็นนางมรูปโฉมงดงามยิ่งกว่านางสิบสองนั้นอีก ก็มีพระทัยยินดี

ตรัสเรียกนางให้ลงมาข้างล่างแล้วตรัสถามเรื่องราวของนาง  ฝ่ายนางสนธมารก็แกล้งทูลด้วย

มารยาว่า เป็นหญิงพลัดบ้านเมืองมาและยังมิได้มีสามี ได้ทรงฟังก็ยินดียิ่งนัก มีรับสั่งให้เจ้า

พนักงานจัดวอทองออกมารับนางเข้าไปยังพระราชวัว  พร้อมด้วยกระบวนแห่เป็นเกียรติยศ

แล้วให้จัดการอภิเษกให้นางเป็นอัครมเหสี และโปรดปรานยิ่งกว่านางสิบสองนั้นอีก

นางสนธมารนั้นมีใจปองร้ายนางสิบสองอยู่เสมอ ครั้นอยู่มามิช้าก็แกล้งทำเป็นไข้นอนครวญ

ครางอยู่บนแท่นบรรทมนาง กำนัลทั้งหลายเห็นอาการดังนั้นก็พากันไปกราบทูลพระเจ้ารถสิทธ์

พระเจ้ารถสิทธ์รีบเสด็จไปยังห้องของนาง แล้วตรัส ถามด้วยความร้อนพระทัยว่า “น้องเป็นอะไร

ไป” นางสนธมารแสร้งทูลว่า “หม่อมฉันเป็นไข้” พระเจ้ารถสิทธ์ทรงพระวิตกมาก  มีรับสั่งให้หา

หมอมาตรวจอาการและรักษาโรคนางให้หายโดยเร็ว พวกหมอต่างพากันลนลานจัดการประกอบ

โอสถถวาย หลายขนาน และยักย้ายรักษาด้วยวิธีต่างๆ เต็มความสามารถ แต่ก็ไม่อาจรักษาโรค

นางให้หายได้  ครั้นนางสนธมารสังเกตอาการพระสามีเห็นว่าหลงรักนางจนงวยงงเต็มที่แล้ว จึง

แสร้งกราบทูลว่า “หม่อมฉันนี้เจ็บมาก  จะเอาโอสถขนานใดๆ มารักษาคงไม่หาย ถ้าโปรดควัก

ลูกตานางสิบสองเสียได้เมื่อไรแล้ว นั่นแหละจะหายได้เป็นแน่แท้”

พระเจ้ารถสิทธ์ได้ทรงฟังดังนั้นก็ยิ่งสงสาร ด้วยความงวยงงหลงรักนางยักษ์เป็นกำลัง ก็ทรง

ยอมตามคำของนางสนธมาร ตรัสเรียกนางสิบสองเข้ามาเฝ้า แล้งบังคับให้มานั่งเรียงกันเป็น

ลำดับส่วนนางสิบสองนั่งพร้อมเพียงกันเช่นนั้น ก็ลุกขึ้นไป ควักลูกตาทั้งคู่ของนางสิบสองเสียทั้ง

สิ้น เว้นไว้แต่นางสุดท้อง นางควักได้แต่ข้างเดียว จึงเหลืออยู่อีกข้างหนึ่งครั้นแล้ว นางเอาลูกตา

ไปให้นางเมรีผู้เป็นธิดาของนาง ซึ่งอยู่ที่เมืองคลปุรนคร (นางเมรีนั้นบางแห่งก็เรียกว่าเมรี) พอ

นางควัก ลูกตานางสอบสองได้สมหวังแล้ว นางก็หายประชวรโดยเร็ว ทำให้พระสามีทรงยินดี

เป็นลันพ้น

 

เมื่อพระเจ้ารถสิทธ์เห็นนางสิบสองตาบอดเช่นนั้นแล้วจึงรับสั่งให้อำมาตย์พาไปขังไว้ใน

อุโมงค์แล้วให้ปิดประตูอุโมงค์เสีย  นางสิบสองถูกขังอยู่ในอุโมงค์นั้นมีครรภ์ไปทุกนาง เมื่อครบ

กำหนดนางผู้พี่ทั้งสิบเอ็ดก็คลอดบุตรออกมาเป็นลำดับกัน แต่ด้วยความอดอยากเหลือที่จะทน

ทาน ทำให้เด็กที่คลอดมาตาย นางได้ฉีกศพเนื้อบุตรของตนออกแจกกันกิน  เพื่อประทังความ

หิวไป วันละเล็กละน้อยดังนี้ตลอดมา ต่างประทังชีวิตอยู่ดัวยศพเนื้อบุตรดุจนางยักษ์มารด้วย

กันทั้งนั้น ส่วนนางน้องสุดท้อง ตาบอดข้างเดียวมีความฉลาด และเมตตา ครั้นได้ส่วนแบ่งศพ

เนื้อบุตรของนางผู้พี่เหล่านั้นแจกให้ ก็ไม่กิน เก็บไว้ ครั้นต่อมามิช้า นางผู้พี่ขอเนื้อบุตรของนาง

กิน นางก็เอาเนื้อบุตรของพี่ แจกให้พี่กินวันละเล็กละน้อย และนางอุตส่าห์ ถนอมเลี้ยงบุตรของ

นางจนเติบใหญ่ ให้ชื่อว่า “รถเสน” หรือ “พระรถ”

 

ครั้นพระรถเสนเจริญวัยขึ้นถามมารดาว่า “แม่จ๋า ห้องที่เราอยู่นี้เรียกว่าอะไร” มารดาตอบว่า

“เขาเรียกว่าอุโมงค์ บิดาของเจ้าสั่งให้ขุดไว้ แล้วให้แม่กับพี่ของแม่ผู้เป็นป้าของเจ้ามาอยู่ใน

อุโมงค์นี้”  พระรถเสนได้ฟังคำมารดาเล่าดังนั้น รู้สึกสงสารและเสียใจคิดว่าเป็นหน้าที่ของตน

จะต้องหาเลี่ยงมารดาและป้า จึงเกิดมีความมานะพยายามหาหนทางเล็ดลอดออกจากประตู

อุโมงค์จนได้ราวกับว่า มีแสงสว่างสองให้เห็นทาง ต่อมาพระรถเสนเตร็ดเตร่ไปเที่ยวเล่นในที่

ต่างๆ เห็นศาลแห่งหนึ่งมีคนนั่งอยู่เป็นกลุ่ม จึงเข้าไปใกล้  เห็นเด็กเลี้ยงโคอยู่ที่นั่นหลายคน

ส่วนพวกเด็กเลี้ยงโคเหล่านั้น เห็นพระรถเสนแปลกหน้ามา ก็ชักชวนให้ไปเที่ยวเล่นด้วยกัน

แล้วพาไปเที่ยวสังเวียนชนไก่ดูไก่ชนกันอย่างสนุกสนาน ในไม่ช้าก็เกิดท้าต่อรองกันขึ้นว่าไก่

ตัวไหนจะแพ้ชนะ พระรถเสนจึงกล่าวท้าว่า “ถ้าเราแพ้พวกเจ้าเราจะให้ทองและแก้วเครื่อง

ประดับ ถ้าพวกเจ้าแพ้เราเราจะขอข้าวห่อสิบสองห่อเท่านั้น” พวกเด็กเลี้ยงโคเหล่านั้นก็ตกลง

รับต่อรองด้วย แต่ในที่สุดก็แพ้ พระรถเสนต้องเสียข้าวห่อสิบสองห่อให้แก่พระรถเสนตาม

สัญญา  เมื่อพระรถเสนได้ข้าวห่อแล้วก็นำไปมอบให้แก่มารดาที่อยู่ในอุโมงค์ แล้วกล่าวว่า

“แม่จ๋าแม่จงเอาข้าวห่อเหล่านี้ไปรับประทาน  และแจกให้แก่ป้าสิบเอ็ดคนนั้นด้วยเถิด”

มารดาพระรถเสน ก็รับข้าวห่อไป เมื่อป้าเหล่านั้นได้รับข้าวห่อแล้วก็กินกันอิ่มหนำสำราญแล้ว

ก็กล่าวขอบใจให้ศีลให้พรด้วยความปีติยินดี ตั้งแต่นั้นมาพระรถเสนก็เที่ยวเล่นต่อรองกับคน

ทั้งหลายนำข้าวห่อ มาเลี้ยงมารดาและป้าทั้งสิบเอ็ดคนเป็นนิตย์ทุกๆ วัน

 

ครั้นต่อมาวันหนึ่ง พระรถเสนรำพึงว่า “ตั้งแต่เราเกิดมาไม่เคยเห็นบิดาของเราเลย จะต้อง

ถามดูให้รู้แน่” คิดเช่นนี้แล้วจึง ไปถามมารดาว่า “แม่จ๋า! บิดาของลูกชื่ออะไร และอยู่ที่ไหน”

มาดาตอบว่า “บิดาของลูกชื่อว่า พระรถสิทธราช ครองเมืองกุตารนครนี้”  ฝ่ายพระรถเสนได้ฟัง

ดังนั้นก็ดีใจ แต่หาได้ทะนงตนเป็นลูกท้าวพญาไม่ อุตสาห์เลี้ยงมารดาและป้าด้วยเที่ยวเล่นต่อ

รองกับคนทั้งหลาย  จนมีชื่อเสียงลือชาปรากฏทั่วไป ความทราบถึงพระกรรณของพระจ้ารถสิทธ์

ผู้เป็นพระราชบิดา พระองค์จึงรับสั่งให้อำมาตย์ไปนำ พระรถเสนกุมารเข้ามาเฝ้า พวกอำมาตย์

ก็รีบพากันไปพาพระรถเสนกุมาร แล้วนำมาเฝ้า พระรถเสนกุมารคลานเข้าไปหน้าพระที่นั่ง

ถวายบังคมพระราชบิดาแล้วก็หมอบนิ่งอยู่ พระเจ้ารถสิทธิ์ทอดพระเนตรเห็นพระรถเสนกุมาร

เข้ามาเฝ้าก็ดีพระทัย จึงตรัสว่า  “เขาลือกันว่าเจ้ามีฝีมือในการเล่นต่างๆ เราอยากทดลองดู

เจ้าจงมาเล่นสกากับเรา” พระรถเสนกุมารกราบทูลว่า “ถ้าข้าพระบาทแพ้พระองค์แล้ว จะยอม

ถวายตัวเป็นข้ารับใช้ ถ้าพระองค์แพ้ข้าพระบาทแล้ว ข้าพระบาทขอพระราชทานข้าวห่อสิบสอง

ห่อเท่านั้น” พระเจ้ารถสิทธ์ทรงยอมรับทำสัญญาแล้วก็ทรงเล่นสกากับพระรถเสนกุมาร

ทรงเล่นครั้นแรกแพ้ทรงแก้ ครั้งที่สองก็แพ้อีก  พระองค์จึงพระราชทานข้าห่อแก่พระรถเสน

กุมารสิบสองห่อตามสัญญา ฝ่ายรถเสนกุมารรับข้าวห่อมาแล้ว ก็ถวายบังคมลา พระเจ้ารถสิทธ์

กลับไปหามารดายังอุโมงค์ เอาข้าวห่อให้มารดาแล้วกล่าวว่า “ลูกไปเล่นสกากับพระเจ้าแผ่นดิน

ชนะ ได้พระราชทานข้าวห่อนี้มาคงจะมีรสอร่อยมาก แม่จงเอาไปรับประทานและแจกให้ป้าทั้ง

สิบเอ็ดคนเถิด” ฝ่ายมารดาก็รับเอาข้าห่อนั้นไปด้วยความยินดี ให้ศีลให้พรลูกด้วยประการ

ต่างๆ

 

ครั้นรุ่งขึ้นพระเจ้ารถสิทธ์ทรงระลึกถึงพระรถเสนกุมาร จึงรับสั่งให้อำมาตย์ไปพาตัวมาเฝ้า

แล้วรับสั่งถามว่า “เจ้าชื่อไรเป็นลูกเต้าเหล่าใคร” พระรถเสนกุมารกราบทูลว่า “ข้าพระบาท

ชื่อว่า “รถเสน” มารดาข้าพระบาทกับป้าอีกสิบเอ็ดคนเป็นมเหสีของพระเจ้ารถสิทธ์”

เมื่อพระเจ้ารถสิทธ์ได้ทรงฟังดังนั้นก็สะดุ้งพระองค์ทรงยินดีตรัสเรียกให้เข้ามานั่งใกล้

พระองค์ ทรงสวมกอดและจุมพิตพระโอรส แล้วตรัสว่า “พ่อนี้คือบิดาของเจ้า” ในขณะนั้นนาง

ยักษ์สนธมารนั่งเฝ้าอยู่ ครั้นได้เห็นดังนั้นก็ได้มีความ หวาดกลัวว่า ต่อไปไม่ช้าพระสามีคงจะ

รู้ความชั่วร้ายของตน ด้วยกุมารนี้เป็นแน่แท้ นางมีความร้อนใจยิ่งนัก จึงแสร้งทำอุบาย

เป็นไข้ แล้วก็กลับมาที่อยู่ของตน สั่งให้สาวใช้ไปทูลพระราชสามีให้ทรงทราบ  พระเจ้า

รถสิทธิ์ได้ทรงทราบ จึงตรัสให้อำมาตย์ไปตามหมอรักษานาง แต่หมอไม่อาจประกอบ

โอสถถวายให้โรคของนางทุเลาลงได้ อำมาตย์ทั้งหลายจึงไปกราบทูลพระเจ้ารถสิทธ์ให้

ทรงทราบ พระเจ้ารถสิทธ์ทรงพระวิตกมากจึงรับสั่งให้เปลี่ยนหมอใหม่แต่โรคของนางก็

ไม่หาย ต่อมานางแสร้งทำเป็นไม่บริโภค อาหารเมื่อพระเจ้ารถสิทธ์ทรงเห็นเช่นนั้น ก็ไม่เสวย

อาหารบ้างเหมือนกันในที่สุดนางยักษ์สนธมารก็กราบทูลว่า ” ยาที่จะรักษาโรคหม่อมฉันให้หาย

นั้นมีอยู่ที่เมืองคชปุรนคร ถ้าหม่อมฉันได้ยานั้นมากินแล้วโรคคงหายเป็นแน่แท้” เมื่อพระเจ้า

รถสิทธ์ได้ทรงฟังดังนั้นก็ดีพระทัยตรัสให้อำมาตย์เอากลองเที่ยวตีประกาศให้ชาวพระนครมา

ประชุมกัน หน้าพระลาน ครั้นแล้วพระองค์ก็เสด็จไปยังที่ประชุมนั้น มีรับสั่งว่า “ท่านทั้งหลาย

ใครจะรับอาสาไปเอายาที่เมืองคชปุรนคร ได้บ้าง ถ้าใครรับได้ เราจะให้รางวัลให้เป็นที่พอใจ

และเมื่อได้ยามาแล้วเราจะตั้งให้เป็นเสนาบดีผู้ใหญ่” ที่ประชุมก็นิ่งอยู่หามีใครจะรับอาสาไม่

ฝ่ายท่านเสนาบดีจึงกราบทูลว่า “เมืองคชปุรนครนั้นไกลนักขึ้นชื่อว่ามนุษย์ด้วยกันแล้วไม่มี

ใครสามารถไปถึงเลย”  พระเจ้ารถสิทธ์ได้ฟังดังนั้นก็เสียพระทัย เสด็จกลับเข้าไปยังห้อง นาง

สนธมาร ตรัสเล่าเรื่องให้ฟังทุกประการ นางสนธมารจึง กราบทูลว่า “หม่อมฉันทราบอยู่ว่าไม่มี

มนุษย์ผู้ใดที่จะไปได้ นอกจากพระรถเสนกุมารผู้มีบุญบารมีมากผู้เดียวเท่านั้น ขอพระองค์

จงรับสั่งให้พระรถเสนกุมารไปเถิดคงจะสำเร็จเป็นแน่แท้” พระเจ้ารถสิทธ์ก็ทรงเห็นชอบด้วย

จึงรับสั่งให้พระรถเสนกุมาเข้ามาเฝ้า แล้วทรงชี้แจงเรื่องราวให้ทราบในที่สุดจึงตรัสว่า

“ลูกรักของพ่อ! เจ้าจงรับเอาสาไปเอายาที่เมืองคชปุรนครให้พ่อสักครั้งหนึ่งเถิด

นอกจากเจ้าพ่อไม่เห็นใครที่จะรับอาสาได้แล้ว” พระรถเสนกุมารจึงกราบทูลว่า

“หม่อมฉันได้ยินดีจะรับอาสา แต่เป็นห่วงมารดา และป้าผู้ต้องขังอยู่ในอุโมงค์ ถ้าไปเมือง

ไกลแล้ว ใครจะปฏิบัติมารดาและป้าเล่า” พระเจ้ารถสิทธ์จึงตรัสว่า “ข้อนั้นไม่เป็นไร

เป็นภาระของพ่อเอง พ่อจะจัดให้คนดูแลแทนตัวเจ้า อย่าเป็นทุกข์เลย”  เมื่อพระเจ้ารถสิทธ์

ตรัสรับรองเช่นนั้นแล้ว พระรถเสนกุมารก็มีความยินดีรับอาสา พระเจ้ารถสิทธ์จึงตรัสว่า

“ม้าของพ่อมีอยู่พันหนึ่ง เจ้าจงไปเลือกดู ตามชอบใจเถิด” พระรถเสนกุมารถวายบังคมลา

แล้วมายังโรงเลี้ยงม้า เลือกดูจนทั่ว ก็จะได้มาตัวหนึ่งสมประสงค์นำมาฝึกหัดเอาเองตาม

ต้องการ และตั้งชื่อม้านั้นว่า “พาชี” ฝึกหัดเป็นที่พอใจแล้วก็ผูก เจ้าพาชีนั้นขับขี่เผ่นขึ้นไป

รวดเร็วดุจเหาะมาในอากาศทดลอง กำลังเป็นระยะไกลมาก แล้วจึงพากลับมายังพระนคร

เข้าเฝ้า พระราชบิดา กราบทูลให้ทรงทราบทุกประการ ครั้นแล้วก็ไปปราสาทนางสนธมาร

เพื่อฟังคำสั่งว่านางจะให้ไปเอายาขนานไหน เมื่อนางสนธมารได้เห็นพระรถเสนกุมาร

จึงแสร้งพูดจาปราศรัยว่า “ลูกรักของแม่! แม่เห็นแต่เจ้าคนเดียวเท่านั้นที่จะ เป็นที่พึ่งได้

ขอเจ้าจงอนุเคราะห์รับธุระของแม่ให้สำเร็จเถิด” แล้วก็บอกชื่อยาให้ (ตามเรื่องที่เล่ากัน

ยานั้นเรียกว่า มะม่วงไม่รู้หาวมะนาวไม่รู้โห่)  บอกแล้วสั่งว่า “เมื่อเจ้าไปลาบิดามารดา

เสร็จแล้วจะออกเดินทางไปจงมาหาแม่ก่อน แม่จะเขียนหนังสือให้ถือไปให้ยักษ์เมือง

คชปุรนคร เมื่อมันเห็นหนังสือนั้น มันจะกรุณาช่วยหายาให้เจ้าตามประสงค์”

 

พระรถเสนกุมารรับคำนางสนธมารลากลับไปหามารดา เล่าความให้ทราบทุกประการ

แล้วก็กล่าวคำอำลามารดา และป้าทั้งหลายก็พากันร้องให้เป็นห่วงใย บ่นรำพันไปต่างๆ

นานา จนพระรถเสนกุมารออกจากอุโมงค์ไป แล้วพระรถ เสนกุมารก็ขึ้นเฝ้าพระราชบิดา

ทูลลาเสร็จแล้วกลับมาผูกม้า และไปหานางสนธมารตามที่นางสั่งไว้ นางสนธมารก็เขียน

หนังสือยื่นให้ พระรถเสนกุมารรับหนังสือเอาผูกคอม้า แล้วก็ขึ้นขี่ไปโดยเร็ว ไปสิ้นระยะ

ทางไกลมากจึงจะหยุดพักสักครั้งหนึ่ง ไปจนถึงอาศรมพระฤาษี สิ้นระยะทางหลายโยชน์

ลงจากหลังม้า แล้วปล่อยม้า ให้กินหญ้าตามบริเวณอาศรมนั้น ส่วนตนเข้าไปพักในที่

ใกล้อาศรม ด้วยความเหน็ดเหนื่อยจึงเอนกายลงนอนในที่นั้น  มิช้าก็เลยหลับไป

 

ฝ่ายพระฤาษีที่อยู่ในอาศรม ได้ยินเสียงฝีเท้าม้าเดินไปมานึกสงสัยจึงออกมาจากอาศรม

เดินที่ยวตรวจดู ครั้นแลไปเห็นม้าก็จึงประหลาดใจ เดินเข้าไปลูบหลังม้า มิช้าก็แลไปเห็น

หนังสือที่ผูกคอม้านั้นอยู่ จึงหยิบมาคลี่ออกอ่านดู ในหนังสือนั้นมีว่า

 

“เจ้าเมรีลูกรักของแม่ แม่ได้ส่งลาภมาให้เจ้าคือรถเสนกุมารผู้ถือหนังสือนี้

ถ้ามาถึงกลางวันก็จงกินกลางวัน  ถ้าถึงกลางคืนก็จงกินกลางคืนเถิด”

 

เมื่อพระฤาษีอ่านแล้วพิจารณาดูทราบว่าพระเจ้ารถสิทธ์ผู้ครองเมืองกุตารนครหลงรัก

นางสนธมาร แล้วให้ลูกของตัวไปเมืองยักษ์ โดยไม่รู้ว่ายักษ์จะกินลูกเสีย คิดจะช่วย

พระรถเสนกุมารให้รอดพ้นอันตราย จึงแปลงหนังสือเสียใหม่ว่า

 

“เจ้าเมรีลูกรักของแม่ แม่ได้ส่งลาภมาให้เจ้า คือรถเสนกุมารผู้ถือสารหนังสือนี้

ถ้ามาถึงกลางวันเจ้าจงรับกลางวัน ถ้าถึงกลางคืนให้รับกลางคืน เจ้าจงถนอมเจ้ารถเสน

กุมารนี้อย่างผัวที่รักของเจ้าเถิด”

 

เมื่อพระฤาษี แปลงหนังสือนั้นเสร็จแล้ว จึงเอาผูกคอม้าไว้ดังเดิม แล้วก็เดินเข้าไป

ปลุกพระรถเสนกุมารให้ตื่นขึ้น พระรถเสนกุมารลืมตาดูเห็นพระฤาษีจึงลุกขั้นนั่งยกมือไหว้

พระฤาษีถามว่า “เจ้าชื่อไร มาแต่เมืองไหน และจะไปข้างไหน”  พระรถเสนกุมารตอบว่า

“ข้าพเจ้าชื่อว่า “รถเสน” มาแต่เมืองกุตารนครจะไปเมืองคชปุรนคร” พระฤาษีจึงถามต่อ

ไปว่า “บิดามารดาของเจ้าชื่ออะไร” พระรถเสนกุมารตอบว่า “บิดาของข้าพเจ้าชื่อว่า

“พระเจ้ารถสิทธ์” เจ้าเมืองกุตารนคร มารดาและป้าของข้าพเจ้ารวมสิบสองคนเป็น

มเหสีของท่าน” พระฤาษีได้ฟังดังนั้น ก็ประสาทพรว่า “เจ้าจงไปดีมาดีเถิด”

พระรถเสนกุมารรับพรโดยความเคารพ แล้วลาพระฤาษี มาผูกม้าขึ้นขี่ต่อไป

สิ้นระยะทางอีกหลายโยชน์ก็ถึงแดนเมืองยักษ์ แลไปดูพวกยักษ์เห็นอยู่

เกลื่อนกลาดมีความกลัวจึงตรัส แก่ม้าว่า “พี่พาชีเราจะทำอย่างไรดี เรามาถึงแดน

เมืองยักษ์แล้ว” ม้าทูลตอบว่า “พระองค์อย่างทรงวิตกเลย ไว้ธุระข้าพระองค์เถิด”

แล้วก็พารถเสนกุมารเข้าไปใกล้เมืองยักษ์นั้น

 

ฝ่ายพวกพลยักษ์ทั้งหลายซึ่งเที่ยวตรวจตราอยู่ และเห็นพระรถเสนกุมาร

ขี่ม้ามาต่างก็ดีใจ พากันวิ่งตรงเข้าไปหวังจะจับกินเสียครั้นพาชีเห็นดังนั้นก็แผด

เสียงสนั่น พวกพลยักษ์ก็พากันตกตะลึงอยู่ทันใดนั้นพระรถเสนกุมารจึงแก้หนังสือ

ที่ผูกคอม้านั้นขว้างไปพวกเสนายักษ์รีบเก็บเอาหนังสือนั้นคี่ออกอ่อนดูรู้ความแล้วก็

เชิญพระรถเสนกุมารให้เข้าเมือง พามาพัก ณ ที่อันสมควรแล้วไปแจ้งแก่นางเมรี

ให้ทราบ

 

นางเมรีได้ทราบดังนั้น มีความยินดียิ่งนัก รีบออกมาต้อนรับโดยเร็ว ครั้นนางได้

และเห็นพระรถเสนกุมาร ให้เกิดความรักใคร่เป็นกำลัง จึงเชิญให้เสด็จไปพักบนปราสาท

แล้วให้จัดอาหารและผลไม้ที่มีรสโอชาให้เสวย ส่วนนางยักษ์ที่เป็นบริวารของนางเมรีก็

มานั่งห้อมล้อมพระรถเสนกุมารอยู่ดาดาษดุจดาวล้อมเดือนฉะนั้น ครั้นแล้วนางเมรีสั่ง

ให้ยักษ์ผู้เป็นเสนาบดีตกแต่งพระนครให้งดงาม แล้วนางก็ให้จัดการอภิเษกพระรถเสนกุมาร

ให้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน และอภิเษกนางเป็นมเหสี ครอบครองราชสมบัติในคชปุระนครโดย

ความผาสุกสำราญต่อมา

 

เวลาล่วงไปได้เจ็ดเดือน พาชีเห็นช้านานนักก็กราบทูลเตือนพระรถเสนว่า

“บัดนี้พระองค์ละมารดามานานนักหนาแล้วจะไม่เสด็จกลับไปหามารดาละหรือ”

พระรถเสนได้ทรงฟังจึงตรัสว่า “จริงตามที่พี่พาชีพูด แต่เรายังไม่สามารถจะกลับได้”

พาชีได้ฟังดังนั้น ก็โกรธอยู่ในใจ ไม่รู้ที่จะทำอย่างไรได้ อยู่มาวันหนึ่งทรงเห็นม้านั้น

แสดงกิริยาโกรธเคืองอีก จึงตรัสปราศรัยว่า “พี่พาชีอย่าโกรธฉันเลย” พาชีจึงทูลว่า

“ข้าพระองค์ไม่ตั้งใจจะโกรธขึ้งพระองค์ดอก แต่อยากจะกลับบ้านเมือง ถ้าพระองค์จะ

อยู่ในพระนครนี้ก็จงเสด็จอยู่เถิด ข้าพระองค์จะขอลากลับไปยังกุตารนครแต่ผู้เดียว”

 

เมื่อพระรถเสนได้ทรงฟังดังนั้นก็รู้สึกพระองค์ เศร้าพระทัยมากคิดจะกลับ

พระนคร จึงขึ้นไปบนปราสาท แล้วประทับบนแท่นบรรทม ทรงพระกันแสงถึงพระมารดา

ครั้นรุ่งเช้าพระองค์แสร้งทำเป็นประชวร ไม่เสด็จออกขุนนางเช่นเคย เสนาบดีและ

อำมาตย์ทั้งหลายซึ่งคอยเฝ้าอยู่ที่ท้องพระโรง ก็พากันกลับไป ฝ่ายนางเมรีพร้อม

ด้วยนางสนมทั้งหลายต่างมีใจทุกข์ร้อนเฝ้าพยาบาลพระรถเสนอยู่ในปราสาท

ให้แพทย์ประกอบพระโอสถถวายต่างๆ นานา พระองค์ก็ยังบรรทมซึมเซาอยู่บน

พระแท่นเช่นเดิมหาได้มีพระอาการเป็นสุขสบายขึ้นไม่ ในที่สุดนางเมรีจึงกราบทูล

แนะนำว่า “ถ้าพระองค์ประทับอยู่แต่บนปราสาท น่ากลัวอาการประชวรจะทุเลาช้า

หม่อมฉันเห็นว่า พระองค์ควรจะเสด็จประพาสสวนอุทยานเสียบาง คงจะทรงพระ

สำราญขึ้น”

 

พระรถเสนได้ทรงฟังดังนั้นก็ทรงยินดี รับสั่งให้พวกอำมาตย์จัดวอพระที่นั่ง

สำหรับเสด็จประพาสสวนอุทยาน แล้วเสด็จไปพร้อมด้วยนางเมรีและนางสนมทั้งหลาย

ครั้นถึงสวนอุทยานแล้วทรงดำเนินชมนก ชมไม้เป็นที่เบิกบานพระหฤทัยยิ่งนัก

เมื่อได้เวลาอันสมควร ก็ตรัสชวนนางเมรีและนางสนมทั้งหลายกลับพระนคร ขึ้น

ประทับบนปราสาทครั้นถึงเวลาค่ำพระองค์มีรับสั่งให้นางเมรีนำดนตรีมาประโคม

และฟ้อนรำขับร้องถวายแล้ว     พระองค์เสวยพระกระยาหารพร้อมด้วยนางเมรี

โปรดให้นางเมรีดื่มสุรา ส่วนพระองค์ทรงแสร้งทำเป็นว่าเสวยสุรากับนาง แต่ที่จริงหา

ได้เสวยไม่ เมื่อนางเมรีดื่มสุราแล้วก็มีอาการมึนเมาหาสติมิได้

 

พระองค์ก็ทรงจูงนางเมรีเที่ยวทอดพระเนตรดูสิ่งของต่างๆ ในปราสาทนั้น

ทรงพบห่อของห่อหนึ่งรีบสั่งถามว่า “นี่ห่ออะไร แม่เมรี” นางเมรีทูลโดยไม่มีสติว่า

“ห่อลูกตาของนางสิบสอง” แล้วชี้ห่อยาหลายห่อให้ทอดพระเนตรอธิบายสรรพคุณ

ของยาห่อนั้นๆ ว่า “ยาห่อนี้เป็นยาทิพย์สำหรับรักษาตา คือเอาลูกตาในห่อนั้นใส่

ลงที่ตา แล้วเอายานี้หยอดตาจะดีดังเก่า ยานี้ถ้าโปรยลงไปจะเกิดเป็นภูเขาขึ้น

ยาห่อนี้จะเกิดเป็นป่า ห่อนี้จะเกิดเป็นลม ห่อนี้จะเกิดเป็นไฟ ห่อนี้จะเกิดเป็นฝน

ห่อนี้จะเกิดเป็นเมฆ และห่อนี้จะบันดาลให้เกิดเป็นแม่น้ำใหญ่” พระรถเสนได้ทรง

ฟังดังนั้นก็ทรงยินดียิ่งนัก พลางดำริว่า “ถ้าเราได้ยาเหล่านี้ไป เราคงจะได้กลับไปเห็น

หน้าแม่เราเป็นแน่นอน ” พอนางเมรีหลับแล้วพระองค์ก็หยิบเอาห่อลูกตาและห่อยา

เหล่านั้นซ่อนมาขึ้นม้ารีบหนีไปในเวลากลางคืน

 

พอเวลารุ่งเช้านางเมรีตื่นขึ้น ไม่เห็นพระรถเสนก็ตกใจเที่ยวค้นหาจนทั่ว

ปราสาทไม่พบ ก็รู้แน่ว่าพระองค์หนีไป นางก็ทรงกันแสง ทรงสั่งให้เกณฑ์รี้พลรีบ

ยกออกติดตามพระสามี ในมิช้านางก็ไปทัน พระรถเสนเห็นนางตามมาใกล้

จึงหยิบเอายาห่อหนึ่งโปรยลง ก็บังเกิดเป็นภูเขาขวางหน้ากองทัพไว้ นางเห็น

ดังนั้นก็หยุดะงัก แล้วยกพลพยายามตามต่ออีก พระรถเสนก็หยิบเอายาห่ออื่นๆ

โปรยลงไปทีละห่อ บังเกิดเป็นเครื่องกีดกั้นต่างๆ ตามที่นางบอกไว้ จนถึงห่อยาที่สุด

ก็เกิดเป็นแม่น้ำใหญ่ นางอุตสาห์พยายามติดตามไปจนถึงแม่น้ำใหญ่นั้น นางหยุด

แลดูพระรถเสนประทับอยู่ฝั่งโน้น กันแสงพลางกราบทูลว่า “พระสามีที่รักเจ้าข้า!

เสียแรงที่หม่อมฉันสวามิภักดิ์รักใคร่พระองค์เป็นหนักหนาพระองค์ช่างไม่ทรงกรุณา

หม่อมฉันบ้างเลย ถ้าหม่อมฉันไม่ได้ไปกับพระองค์แล้ว หม่อมฉันจะขอตายอยู่ที่นี่”

แล้วนางก็ทรงกันแสงรำพันทูลพระสามีด้วยประการต่างๆ แต่ก็หาได้รับตอบจาก

พระสามีไม่ ในที่สุดนางจึงยกหัตถ์ขึ้นตั้งสัจอธิษฐานว่า “ข้าพเจ้าเกิดชาติใดๆ ขอให้

ได้อยู่ร่วมกับพระรถเสนทุกชาติไป” พระรถเสนหยุดฟังนางรำพันอยู่ฝั่งโน้น ก็บังเกิด

ความสงสารนาง ทรงกันแสงอาลัยถึงนาง แต่อุตส่าห์อดกลั้น อยู่ด้วยความกตัญญูใน

พระมารดา เมื่อเห็นนางเงียบเสียงแล้วจึงตรัสตอบไปว่า   “น้องที่รักของพี่! น้องมีคุณ

แก่พี่มากมายเหลือจะขอบคุณน้องได้ แต่เป็นการจำเป็นที่พี่จะต้องไปสนองคุณพระบิดา

มารดาผู้บังเกิดเกล้าของพี่เสียกก่อน น้องอย่าคิดเป็นอย่างอื่นไปเลยทำไมพี่จะไม่รักน้อง

จำต้องขอลาน้องไปก่อน หวังว่าภายหน้าเราคงจะได้อยู่เป็นคู่ครองกันต่อไป” ตรัสเท่านั้น

แล้วก็ขับพาชีรีบเสด็จไปจนถึงเมืองกุตารนคร เมื่อนางเมรีเห็นพระรถเสนลับพระเนตร

ไปแล้ก็ทรงกันแสงเสียพระทัยจนสิ้นชีพอยู่ที่ผั่งไม่น้ำนั้นเอง

 

ส่วนนางยักษ์สนธมารได้แลเห็นพระรถเสนกลับมา มีความเสียใจเป็นกำลัง จนใจ

นางแตกเป็นเจ็ดภาค สิ้นชีวิตอยู่บนปราสาทของนางนั้นเอง ฝ่ายพระรถเสนครั้นมาถึง

เมือง ก็รีบเข้าไปหาพระมารดาและป้าในอุโมงค์เอาลูกตาและยาใส่ตามารดาและป้าทั้ง

สิบเอ็ดคนนั้นเสร็จแล้ว ตาของมารดาและป้าทั้งหลายก็กลับคืนดีเป็นปกติดังเดิม แล้ว

พระองค์ก็พามารดาและป้าทั้งหลายนั้นขึ้นเฝ้าพระราชบิดา เมื่อพระองค์พามารดาและ

ป้าทั้งหลายนั้นขึ้นเฝ้าพระราชบิดา เมื่อพระรถสิทธ์เห็นพระรถเสนกลับมาและพามารดา

และป้าทั้งหลายมาด้วยดังนั้น ก็ประหลาดพระทัยยิ่งนัก  ครั้นได้ทรงฟังพระรถเสนทูล

เรื่องยักษ์สนธมารซึ่งจำแลงมาเป็นหญิงมนุษย์ และทำอุบายควักลูกตามเหสีของ

พระองค์เสีย ตลอดจนพระรถเสนไปได้ลูกตามาจากเมืองยักษ์ และเอามาใส่ให้

มเหสีดีดังเก่า จนถึงพากันมาเฝ้าพระองค์ โดยถี่ถ้วนทุกประการแล้ว พระองค์ก็

ทรงสงสารพระมเหสีเป็นกำลัง ทรงพระกันแสงพลางตรัสขอโทษพระมเหสีสิบสององค์

และกริ้วนางสนธมารยิ่งนักจนภายหลังเมื่อได้ทรงทราบว่านางสนธมารตายเสียแล้ว

จึงสงบพระพิโรธ กลับทรงโสมนัสยินดี ตั้งให้นางสิบสองนั้นเป็นมเหสีของพระองค์

ดังเดิม

 

ภายหลังพระจ้ารถสิทธ์จึงมีรับสั่งให้จัดการอภิเษกพระรถเสนขึ้นเป็นกษัตริย์

ครอบครอบราชสมบัติแทนพระองค์สืบไป และมีการมหรสพเป็นงานฉลองอย่าง

เอิกเกริกใหญ่ฝ่ายพระรถเสนเมื่อได้ทรงราชย์แล้วก็ดำรงอยู่ในทศพิษราชธรรม

ทรงอุปถุมภ์แก่ประชาชน ให้ได้รับความสุขทั่วหน้ากันต่อมา

ลิลิตพระลอ

Posted: มีนาคม 10, 2013 in Uncategorized

เมืองเหนือสองเมืองเป็นศัตรูคู่อริไม่ถูกกัน กษัตริย์เมืองแม้นสรวงพระองค์หนึ่งทรงพระนามว่า พระลอดิลกราช พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ที่มีพระสิริวรกายงดงามหล่อเหลายิ่ง จนเป็นที่ปรากฏของหญิงทั้งหลาย และยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองสรอง เมืองนี้ปกครองโดยกษัตริย์พิชัยพิษณุกร

กษัตริย์พิชัยพิษณุกรทีพระราชธิดาอยู่ 2 พระองค์ พระองค์พี่ พระนมาว่า พระเพื่อนแก้ว พระองค์น้องพระนามว่า พระแพงทอง พระราชธิดาทั้งสองสาบานกับเจ้าย่าว่าจะแก้แค้นให้เมืองสรองและถ้าผิดคำสาบาน จะต้องตายด้วยคมของอาวุธ เพราะปู่ของธิดาทั้งสองพ่ายแพ้ศึกเสียทีสวรรคต เจ้าย่าจึงส่งคนไปสีซอให้พระลอฟัง เป็นการพรรณนาความงามของพระเพื่อนกับพระแพง และใช้กฤติยามนต์(หลอกให้กินสล่าบินหรือหมาก)เพื่อให้พระลอมาที่นี่แล้วให้ ทัพเมืองพะเยาไปตีเมืองแม้นสรวงและลอบปลงพระชนม์พระลอ เมื่อเพื่อนแก้วและแพงทองรู้เรื่องนี้เข้าจึงให้รื่นและโรยช่วยแก้มนต์ให้ รื่นและโรยจึงไปหาประคำมาไว้ใต้ที่นอนของเพื่อนแก้วกับแพงทอง แต่ไม่ได้ผลรื่นและโรยจึงตัดสินใจไปหาปู่เจ้าสมิงพรายก่อนวันฉลองวันครอง ราชย์ของกษัตริย์พิชัยพิษณุกร แต่สายไปปู่เจ้าสมิงพรายมาเข้าทรงเจ้าย่าแล้วจึงหมดทางแก้ไขกฤตยามนต์โดย สิ้นเชิง หลังจากวันนั้นทั้งสองจึงไปขอให้ปู่เจ้าสมิงพรายดลให้พระลอมาถึงโดยเร็วกว่า เดิมเพื่อทูลเตือนให้กลับไปเสีย ปู่เจ้าสมิงพรายก็ให้ความช่วยเหลือ จนพระลอต้องเสด็จมาเมืองสรองในวันพรุ่งนี้

พระลอต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและมนต์ของเจ้าสมิงพราย เข้าก็ทรงเกิดความอยากทอดพระเนตรดูพระเพื่อนกับพระแพงขึ้นมาทันที จึงอำลาพระนางบุญเหลือพระราชมารดา และพระนางลักษณวดีพระมเหสี เสด็จโดยด่วยไปยังเมืองสรองพร้อมด้วยนายแก้วนายขวัญสองพระพี่เลี้ยง

เมื่อเสด็จถึงแม่น้ำกาหลง พระลอก็ทรงเสี่ยงน้ำ ปรากฏเป็นลางร้ายไม่ต้องำพระทัยเลย แต่ก็ต้องเสด็จต่อไป เพราะต้องมนตร์เสน่ห์ของเจ้าย่าและเจ้าปู่สมิงพรายเข้าแล้ว ปรากฏมีไก่แก้วของเจ้าปู่สมิงพรายคอยวิ่งล่อพระลอ กับพระพี่เลี้ยงให้ต้องไปจนถึงเมืองสรองจนได้ เมื่อไปถึงสวนหลวง นางรื่นกับนางโรยออกมาที่สวนหลวงก็ทราบข่าวว่าพระลอเสด็จมาถึงแล้ว จึงออกอุบายที่สำคัญคือ ให้พระเพื่อนและพระแพงเสด็จออกไปพบพระลอเพื่อเตือนภัย แต่พระลอเห็นความงามของนางทั้งสองจึงไม่ยอมกลับไปแต่สุดท้ายพระลองก็ ต้องกลับไปพร้อมให้สัญญาว่าจะกลับมาหาอีก วันหนึ่งรื่นและโรยเข้ามาในตำหนักและบอกว่ามีพระลอมาขอเข้าเฝ้า นางเห็นว่าถ้าพระลอออกไปก็อันตรายจึงพาพระลอเข้าไปอยู่ในตำหนักพระเพื่อนพระ แพง ส่วนนายแก้วให้อยู่กับนางรื่น นายขวัญให้อยู่กับนางโรย ทุกอย่างลงตัวหมด

เวลาล่วงเลยไปถึงครึ่งเดือน กษัตริย์พิชัยพิษณุกรจึงทรงทราบเมื่อเสด็จมาพระตำหนักพระราชธิดา ทรงเห็นพระลอแล้วก็สงสาร ทรงเมตตารับสั่งให้จัดพิธีอภิเษกสมรสให้ แต่พระเจ้าย่าของพระเพื่อนพระแพง ไม่ทรงชอบพระลอจึงทรงขัดขวางทุกวิถีทาง ทรงอ้างรับสั่งของกษัตริย์พิชัยพิษณุกรว่าให้ทรงสั่งจับพระลอ ทหารจึงพากันจับพระลอไว้ ฝ่ายพระเพื่อนพระแพง และพระพี่เลี้ยงของทั้งสองฝ่ายรวม 4 คนก็ได้ช่วยขัดขวางจนถงที่สุด จนสิ้นพระชนม์และสิ้นชีวิตกันทั้งหมด ก่อนจะสิ้นพระชนม์แพงทองได้เขียนบันทึกเล่มหนึ่งจนเสร็จแล้วม้วนใส่ซองหนัง ไว้ในที่ลับตาคนก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ไป เนื้อหามีอยู่ว่า “หลังจากที่ข้าฯ ตายไป จะเป็นสิบปี…..ร้อยปีหรือพันปี…. ก็ตาม คนที่อยู่เบื้องหลังอาจรำลึกถึงเรื่องราวระหว่างข้าฯ สองพี่น้องกับท้าวเธอดุจนิยายฝันอ้นเลือนลาง จากปากหนึ่ง…ไปสู่อีปากหนึ่ง…ท้ายสุดเรื่องราวของข้าฯ ก็จะมีค่าเป็นเพียงนิยายที่ไร้ความหมายเพียงเพื่อเล่าสู่กันฟังอย่างสนุก สนาน… แต่..คงจะมีสักวันหนึ่งคงจะมีคนมาพบบันทึกเล่มนี้เขาจะได้รู้ความจริงระหว่าง เพื่อนแก้ว ข้าฯ และท้าวเธอ ผู้ทรงนามว่าลอดิลกราช ก่อนจะมีผู้พบบันทึกชื่อเสียงของข้าฯ อาจหมองมัว ข้าฯ อาจจะถูกประณามไม่ให้เอาเยี่ยงอย่างในฐานะหญิงโฉดเจ้ามารยาที่เอาชนะใจชาย ด้วยมนตรา! ข้าจะไม่แก้ตัวด้วยประการใดทั้งสิ้น แต่ขอวอนท่าให้อ่าบันทึกนี้จนจบ คราวนี้ท่านอาจจะให้อภัยข้าฯ ได้สักน้อยนิดก็ยังดี….บางครา….ท่านอาจเห็ใจข้าฯได้บ้างว่า ความรักของข้าฯ สองพี่น้องต่างหากที่เป็นความรักที่ต้องมนตรามิใช่ท้าวเธอแต่เพียงผู้เดียว” หลังจากข้อความนี้ก็ได้เล่าความเป็นมาทั้งหมด

กษัตริย์พิชัยพิษณุกร เมื่อทรงทราบเรื่องราวก็ทรงให้มีรับสั่งให้จับพระเจ้าย่าและพรรคพวกประหารชีวิตเสียให้ตายตกไปตามกัน เพราะทรงพระพิโรธยิ่งนัก

จากนั้นกษัตริย์พิชัยพษณุกรได้โปรดให้จัดพิธีพระศพอย่างยิ่งใหญ่ นางบุญเหลือพระราชมารดาของพระลอส่งฑูตมาร่วมงานพระศพกษัตริย์(คือพระลอ พระเพื่อนแก้ว และพระแพงทอง) แล้วทรงขอแบ่งพระอัฐิธาตุไปส่วนหนึ่งตั้งแต่นั้นมา เมืองสรองและเมืองแม้นสรวงก็มีสัมพันธไมตรีที่ดีต่อกัน

แก้วหน้าม้า

Posted: มีนาคม 10, 2013 in Uncategorized

ณ เมืองมิถิลา ท้าวภูวดลกับพระนางนันทาครองเมืองมีโอรสชื่อ พระปิ่นทอง ที่ดื้อมากจนพี่เลี้ยงต่างพากันเอือมระอา

ท้าวภูวดลกับมเหสีหนักใจมากกับโอรสจอมซน พระปิ่นทองมาขอออกไปเล่นว่าวนอกวังและรับปากว่าจะไม่ทำเรื่องเดือดร้อนอีก ท้าวภูวดลจึงให้ไปพร้อมทั้งให้ทหารตามเสด็จมากมาย พระปิ่นออกไปเล่นว่าวนอกวังใกล้ๆกับหมู่บ้านแก้ว ขณะที่แก้วออกไปช่วยแม่เลี้ยงม้า เทวดาเห็นว่าพระปิ่นทองกับแก้วเป็นเนื้อคู่ จึงหาทางให้ทั้งสองได้พบกัน ขณะที่พระปิ่นทองกำลังเล่นว่าว เทวดาก็เนรมิตลมตีว่าวพัดหลุดลอยออกไป

พระปิ่นทองรีบวิ่งตามว่าวที่ลอยออกไป ว่าวตกลงมาบริเวณที่แก้วเลี้ยงม้า แก้วจึงเก็บไว้ พระปิ่นทองเข้ามาขอว่าวคืนพร้อมทั้งพุดจาดูถูกแก้วที่ริอ่านมาเก็บว่าวของตน แก้วเลยไม่ยอมให้ พระปิ่นทองให้ทหารวิ่งตามว่าคืนมาจากแก้ว แก้วรีบนำว่าววิ่งหนีไป พวกทหารตามไป 2-3 คน คือนายสุขกับนายตุ่ย (ใช้กำลังโวยวาย)

พวกม้าเห็นท่าไม่ดีเลยช่วยแก้วเอาไว้ให้หนีพวกทหารได้ ทุกคนสะบักสะบอม พระปิ่นทองเห็นท่าไม่ดีจึงนึกอุบายขึ้นมาได้ พระปิ่นทองของเจรจากับแก้ว ว่าจะให้แก้วแหวนเงินทองแต่แก้วไม่สนใจ พระปิ่นทองเลยโกหกว่าให้ว่าวจะรับเป็นมเหสี แก้วดีใจมากรีบคืนว่าวไป

ปิ่นทองยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ บอกกับทหารคนสนิทว่าหลอกเล่น แก้วกลับมาบ้าน บอกแม่ว่าจะไปเป็นมเหสี พ่อแม่ไม่มีใครเชื่อ แก้วนั่งฝันว่าจะได้เข้าไปเป็นมเหสีในวัง องค์รักษ์แอบมารายงานว่าพระปิ่นทองสัญญาอะไรเอาไว้ ท้าวภูวดลให้นายสุขเก็บเรื่องนี้เป็นความลับเพราะกลัวว่าพระนางนันทาจะรู้และ จะต้องรักษาสัญญา

แก้วรอให้พระปิ่นทองมารับเป็นมเหสี แต่ก็ไม่มาจนผ่ายผอม พ่อกับแม่เริ่มเชื่อ เลยสอบถามชาวบ้านได้ความว่าพระปิ่นทองพูดจริง นางนิ่มกับนายมั่นตัดสินใจพาแก้วเข้าวังเพื่อทวงสัญญา สามแม่ลูกจึงได้เข้ามาอยู่ในวัง ท้าวภูวดลทราบเรื่องจึงกริ้วมาก สั่งประหารสามแม่ลูก

พระนางนันทามาพอดีจึงสอบถามเรื่องราวจนทราบเรื่องและ บอกให้ท้าวภูวดลรักษาสัญญาถ้าพระปิ่นทองพูดจริงต้องรักษาสัญญา พระปิ่นทองบอกว่าพูดเล่นไม่สนใจ ท้าวภูวดลรู้เข้าจึงต้องยอมรักษาสัญญา พระปิ่นทองตกใจมาก จำต้องรักษาสัญญาด้วยการไปรับแก้วเข้าวัง แก้วเล่นตัวไม่ยอมเข้าวัง ถ้าไม่มีวอมารับ

พระปิ่นทองจำต้องส่งวอมารับ แก้วนั่งวอเข้าวังด้วยความยินดีของชาวบ้าน พิธีอภิเษกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ พระปิ่นทองอับอายมาก พระนางนันทาเห็นแก้วก็รู้สึกเอ็นดู จัดห้องหับให้แก้ว พระปิ่นทองทำท่ารังเกียจไม่ยอมออกมาพบกับแก้ว ทำให้แก้วไม่พอใจมาก

 

แก้วจึงต้องบุกเข้าไปหาพระปิ่นทองเอง สร้างความชุลมุนวุ่นวายทั่งทั้งวัง พระปิ่นทองต้องสั่งให้มีเวรยามเฝ้าไม่ให้แก้วหน้าม้าออกมาอาละอาด ท้าวภูวดลรู้เข้าก็อับอาย จึงคิดอุบายหาทางกลั่นแกล้งแก้ว

ท้าวภูวดลหาทางแกล้งแก้วด้วยการให้ไปยกเขาพระสุเมรุให้ได้ภายในเจ็ดวัน ถ้ายกไม่ได้จะถูกประหาร แก้วตกใจมาก แก้วออกเดินทางไป ตามหาเขาพระสุเมรุ แก้วเข้าไปในป่าแล้วอธิษฐานว่าตนเป็น เนื้อคู่พระปิ่นทองขอให้พบเขาพระสุเมรุ แก้วเดินทางไปเจอสัตว์ร้ายในป่าที่จ้องจะมาทำร้าย

ก่อนที่แก้วจะถูกทำร้าย ฤาษีมาพบเข้าและช่วยไว้ พระฤาษีเมื่อได้ทราบเรื่องราวจึงช่วยถอดหน้าม้าให้กลายเป็นสาวสวย พร้อมเสกเรือเหาะและมีดอีโต้วิเศษให้เป็นอาวุธ นางแก้วกราบลาพระฤาษีพร้อมสวมหน้าม้าดังเดิม นั่งเรือเหาะไปจนเจอ เขาพระสุเมรุ

แก้วกำลังจะไปยกเขาพระสุเมรุ ก็พบยักษ์เฝ้าอยู่ ยักษ์บอกว่าแก้วต้องแก้ปริศนาให้ได้ก่อน จึงจะตัดขาไปได้ พร้อมกับให้ปริศนาสามข้อ แก้วคิดปริศนาไม่ออก เลยฉวยโอกาสยักษ์เผลอ ตัดเขาเหาะหนีไปเลย

แก้วเหาะแบกเขามาจนถึงเมืองมิถิลา ชาวบ้านพากันแตกตื่น เมื่อเห้นเขาลอยมาทั้งลูก ท้าวภูวดลมั่นใจว่าแก้วต้องถูกประหารแน่ๆ แต่แก้วก็ต้องผิดหวังเมื่อแก้วยกเขามาได้ ท้าวภูวดลแค้นใจ จึงหาทางเลี่ยงสัญญาด้วยการให้พระปิ่นทองหนีออกประภาสต่างเมือง และหาทางกลั่นแกล้งแก้วอีก

ก่อนออกเดินทางพระปิ่นทองสั่งนางแก้วว่าถ้ากลับมานางยังไม่มีลูกจะต้อง ถูกปรหาร แก้วคิดหาวิธีมีลูกกับพระปิ่นทอง แก้วคิดอะไรได้ นางแก้วจึงนั่งเรือเหาะไปดักรอพระปิ่นทองระหว่างทางพร้อมทั้งถอดหน้าม้าออก พระปิ่นทองได้เจอแก้วที่ถอดรูปแล้ว ถึงกับตะลึงงัน

พระปิ่นทองได้เห็นงานแก้วจึงนึกรัก สั่งให้ทหารตามมาพบ พระปิ่นทองขอแก้วเป็นชายา แก้วถามถึงมเหสีพระปิ่นทองบอกว่ามีหน้าเป็นม้า น่าเกลียด แก้วรู้สึกไม่พอใจ จึงหาทางกลั่นแกล้งพระปิ่นทองจนพอใจ แก้วยอมอยู่กินกับพระปิ่นทองแก้วเริ่มตั้งครรภ์ พระปิ่นทองขอให้แก้วกลับไปอยู่ในวังด้วยกัน แก้วหาข้ออ้างไม่ไป พระปิ่ทองจึงให้แหวนไว้ เพื่อมอบให้ลูกที่กำลังจะเกิดขึ้นมาเพื่อเป็นหลักฐานว่าเป็นลูกตน พระปิ่นทองกลับเมือง แก้วรีบตามไปดักหน้า แก้วมาถึงวังก่อนพระปิ่นทอง รีบเตรียมตัวต้อนรับพระปิ่นทองกลับมา นางแก้วแกล้งถามว่าไปเจอสาวที่ไหนมาหรือเปล่า พระปิ่นทองรีบโกหกว่าไม่เจอใคร พร้อมทวงสัญญาว่าแก้วจะต้องตั้งครรภ์ แก้วรีบแสดงตัวว่าตั้งครรภ์ สร้างความดีใจให้กับพระนางนันทา พระปิ่นทองไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป จึงคิดหนีไปต่างเมืองโดยไม่ยอมให้แก้วไปด้วย

 

พระปิ่นทองถูกพวกยักษ์เล่นงานจับตัวเอาไว้ ฝ่ายนางแก้วได้คลอดลูกออกมาเป็นชาย นางแก้วคิดจะไปหาพระปิ่นทองจึงได้ฝากลูกไว้กับฤาษีระหว่างทางที่ผ่าน ฤาษีตั้งชื่อให้เด็กว่า “พระปิ่นแก้ว” พระปิ่นทองหายไป สร้างความเป็นห่วงให้ท้าวภูวดลและมเหสีเป็นอันมาก แก้วรู้เข้ารู้สึกเป็นห่วง แก้วไปถามฤาษี ฤาษีทราบด้วยญาณว่า พระปิ่นทองตกอยู่ในอันตรายจึงบอกนางแก้ว นางแก้วจึงนั่งเรือเหาะไปช่วยพระปิ่นทอง โดยไม่ให้พระองค์รู้ แก้วจึงแปลงตัวเป็นชาย พระปิ่นทองถูกจับตัวไปให้ท้าวพาลราชกิน แต่แก้วได้แปลงตัวเป็นชายเข้ามาช่วยแก้วต่อสู้กับท้าวพาลราช แก้วฆ่าท้าวพาลราชตาย พวกยักษ์ที่เหลือต่างพากันยอมสยบ

แก้วบอกให้พวกยักษ์ยกให้พระปิ่นทองครองเมืองแทนมิฉะนั้นจะพังเมือง พวกยักษ์หลงเชื่อจนยอมตาม พระปิ่นทองทำท่าจะสนใจลูกสาวยักษ์สองคนคือ เจ้าหญิงสร้อยสุวรรณและเจ้าหญิงจันทร แก้วรู้เข้าจึงรีบไปตีสนิท และพาไปหาฤาษี แก้วพาสองเจ้าหญิงมาหาฤาษีและบอกเรื่องราวที่แท้จริงว่าตนเป็นใคร

 

 

เจ้าหญิงทั้งสองได้รู้เรื่องราวของแก้ว และสัญญาจะเก็บเป็นความลับ ก่อนที่จะกลับไปสู่เมืองยักษ์ แก้วพาสองธิดากลับมายกให้พระปิ่นทอง พระปิ่นทองเริ่มคิดถึงบ้าน จึงชวนสองธิดายักษ์กลับเมืองมิถิลา แก้วรู้เข้ารีบสวมหน้าม้าขึ้นเรือเหาะไปดักหน้า

แก้วมารอพระปิ่นทองพร้อมกับอุ้มลูกที่ฤาษีตั้งชื่อไว้ว่าพระปิ่นแก้ว พระปิ่นทองหาว่าแก้วหลอกว่าเป็นลูกตนแต่เมื่อเห็นแหวนที่ตนให้ไว้ก็พูดไม่ออก กล่าวถึงท้าวกายมาต ที่เป็นญาติกับท้าวพาลราชที่ถูกแห้วสังหาร เมื่อทราบเรื่องก็เกิดความแค้นยกไพร่พลยักษ์มาล้อมเมืองมิถิลา

พระปิ่นทองทำอะไรไม่ถูก คิดแต่ว่าจะต้องเสียเมืองให้ยักษ์แน่นอน ธิดายักษ์ทั้งสองกลัวว่าพระปิ่นทองจะพ่ายแพ้แก่ยักษ์ จึงบอกความจริงว่าแก้วคือใคร พระปิ่นทองไปงอนง้อให้แก้วมาช่วย แต่แก้วไม่ยอม

พวกยักษ์เริ่มบุกเมือง แก้วเป็นห่วงบ้านเมืองและพระนางนันทา จึงได้แปลงกายเป็นชายออกสู้กับยักษ์ทันที แก้วสู้กับท้าวกายมาต แต่อีโต้วิเศษทำอะไรไม่ได้ แก้วกำลังจะเสียทีท้าวกายมาต

แก้วเหาะข้ามหัวทำให้มนต์ยักษ์เสื่อม และฆ่าท้าวกายมาตได้สำเร็จ ท่ามกลางความยินดีของชาวมิถิลา พระปิ่นทองเริ่มสงสัยว่า ชายหนุ่มที่มาช่วยต้องเป็นแก้วแน่ๆ

พระปิ่นทองตามไปงอนง้อนางแก้ว แต่แก้วก็ยังเล่นตัว จนพระปิ่นทองทำท่าจะเชือดคอตายแก้วจึงยอมถอดหน้าม้า สร้างยินดีให้กับทุกคน พิธีอภิเษกสมรสจัดขึ้นอย่างเอิกเกริก ไม่นานแก้วก็ตั้งครรภ์ ท้าวประกายกรดรู้ข่าวท้าวประกายมาตถูกฆ่าตายก็แค้น คิดจะบุกเมืองมิถิลา

ท้าวประกายกรดบุกเมืองมิถิลา ประชาชนแตกตื่นกันทั่ว พระปิ่นแก้วยกทัพไปสู้กับพวกยักษ์แต่สู้ไม่ได้ ต้องถอยร่น แก้วจำต้องออกไปสู้กับยักษ์ ทั้งๆที่ตั้งครรภ์ แก้วที่ท้องแก่สู้กับท้าวประกายกรด ถูกท้าวประกายกรดถีบ แก้วเจ็บท้อง คลอดพระธิดาออกมา 3 องค์ ท้าวประกายกรดตกใจมากที่รู้ว่าแก้วเป็นหญิง

แก้วใช้ผ้าเปื้อนเลือดฟาดเข้าใส่ ทำให้มนต์ยักษ์เสื่อม ท้าวประกายกรดถูกฆ่าตาย เมืองมิถิลากลับสู่ความสงบตั้งแต่นั้นมา

ศรีธนญชัย

Posted: มีนาคม 10, 2013 in Uncategorized

นานมาแล้ว มีนางแก้วผู้หนึ่งเป็นคนใจบุญ ชอบทำบุญทำทานเสมอ ตลอดพรรษานางไปทำบุญอยู่ที่วัดหนึ่งมิเคยขาด วันหนึ่ง ใจนางคิดอยากจะไปทำบุญอีกวัดหนึ่งที่อยู่คนละฝั่งแม่น้ำกับที่นางอยู่ เมื่อนางเตรียมข้าวปลาอาหารพร้อมแล้วที่จะไปตักบาตร เผอิญวันนั้นฝนเกิดตกหนักน้ำท่วมนางก็ไม่อาจจะข้ามไปได้ มีพระรูปหนึ่งพายเรือผ่านไป นางขอโดยสารข้ามฟากไปกับพระ พระรูปนั้นรีบร้อนไม่ยอมหยุดฟังคำพูดของนางเลย พายเรือมาชาติใดก็ขอให้มีลูกชาย ให้ได้อยู่ร่วมกับพระรูปนั้นและใช้กรรมเวรนี้ให้จงได้ พลางนางก็โยนของที่เตรียมจะไปทำบุญตักบาตรลงไปในน้ำ

ต่อมานางก็มีลูกเป็นชายคนหนึ่งพออายุได้ ๑๑ – ๑๒ ขวบ นางก็ส่งไปอยู่วัดตั้งชื่อลูกว่า ‘’ ไอ้กะตำป๋า ” ( ศรีธนญชัย ) และได้ไปอยู่กับพระรูปที่ไม่ให้นางโดยสารเรือไปด้วยในวันที่นางจะไปทำบุญตัก บาตรวัดฝั่งตรงข้ามบ้านของนาง คำอธิษฐานของนางก็เป็นความจริง เพราะศรีธนญชัยลูกของนางก็ได้มาใช้กรรมเวรเหมือนดังคำอธิษฐานที่นางได้ตั้ง ไว้ วันหนึ่งพระสั่งให้เอาผ้าไปซัก ศรีธนญชัยซักเสร็จแล้วก็เอาไปตากไว้ที่กองทราย มีหมาตัวหนึ่งผ่านมา ศรีธนญชัยนึกในใจว่าจะต้องแกล้งพระรูปนี้สักหน่อย จึงไปหาน้ำตาลอ้อยกับงาดำมาผสมกันแล้วปั้นเป็นก้อนกลม ๆ เอาไปวางไว้บนผ้าพระที่ตากไว้ พระมาเห็นเข้านึกว่าเป็นขี้หมาก็เอ็ดศรีธนญชัยว่า ‘’ แกนี่มันทำไมถึงโง่นัก ซักผ้าตากไว้ก็ไม่เฝ้า ปล่อยให้หมามาขี้รดเสียแล้ว แกกินขี้หมานี้เข้าไปเสียนะ ถ้าแกไม่กินข้าจะเขกหัวแกเดี๋ยวนี้

แหละ ”ศรีธนญชัยก็แก้ตัวว่า‘’ กระผมมั่วแต่ไปทำงาน เลยไม่ได้อยู่เฝ้าผ้า ” ฝ่ายพรดะก็บังคับให้ศรีธนชัยกินให้ได้ ศรีธนญชัยก็หยิบขึ้นมากินหน้าตาเฉย พระสงสัยก็ถามว่า ‘’ แกกินอย่างอร่อยเชียวนะ ‘’ ศรีธนญชัยตอบว่า ‘’ ขอรับกระผม ขี้หมาตัวนี้อร่อยมาก ” พระขอลองชิมดู ก็เลยสั่งศรีธนญชัยว่า พรุ่งนี้ถ้าหมาตัวนี้ผ่านมาให้จับไว้นะ บีบเอาขี้หมาออกมาให้หมด

วันรุ่งขึ้นอหมาผ่านมา ศรีธนญชัยก็ล่อหมาไปเอาประตูหนีบตัวมันไว้ จนหมาขี้ไหลออกมาก็เรียกพระให้มากินขี้หมา ตอนนี้ก็ได้แก้แค้นให้แม่ไปได้ตอนหนึ่งแล้วต่อมาอีกวันหนึ่ง พระมีธุระเข้าไปในเมืองก็สั่งศรีธนญชัยว่า ‘’ ใครมาเรียกอย่าเปิดประตูนะให้บอกว่า พระท่านไม่ให้เปิด ” ตกดึกคืนนั้นพระกลับมาจากธุระ ก็ตะโกนเรียกให้ศรีธนญชัยเปิดประตูให้ ‘’ ไอ้ศรีธนญชัยข้ากลับมาแล้ว เปิดประตูที ” ศรีธนญชัยตะโกนตอบว่า ‘’ หลวงพี่สั่งไม่ให้เปิด ” ‘’ ก็ข้ากลับมาแล้ว ข้าเอง เปิดประตูเร็ว ๆ เข้า ‘’ ช่างเถอะ หลวงพี่สั่งไม่ให้เปิด ตกลงพระนั้นก็ไม่ได้เข้าห้อง ต้องนอนตัวงอก่ออยู่นอกกุฏินั่นเองจนกระทั่งสว่าง

หลายปีต่อมา ศรีธนญชัยอายุมากขึ้น ร่ำเรียนอะไรก็ไม่สำเร็จ ดีแต่แกล้งพระ วันหนึ่งก้ไปหาพระแล้วบอกว่าตนจะไปค้าขายเกลือ พระก็ขอไปด้วย เพราะอยากจะไปเห็นบ้านเมืองอื่นบ้าง พระมีม้าอยู่ตัวหนึ่ง ศรีธนญชัยมันรู้ว่าพระจะขี่ม้าไป พอดีตอนนั้นเป็นฤดูที่ต้นหมามุ่ยออกดอกมันก็ไปเก็บเอามาเคาะใส่อานม้าไป ศรีธนญชัยก็หาบเกลือเดินตามไป พระก็คันก้นเกาไปตลอดทางเพราะโดนหมามุ่ย เมื่อขี่ม้ามาทันศรีธนญชัยแล้ว ก็ชวนให้ศรีธนญชัยแลกม้าขี่ พรดะอาสาหาบเกลือให้ ฝ่ายศรีธนญชัยเมื่อได้ม้าขี่แล้วก็รีบขี่ม้าไปอย่างเร็ว ส่วนพระหาบเกลือมาหนักมาก ตามศรีธนญชัยไม่ทัน ก็เลยคิดได้ว่าจำเป็นที่จะต้องหาบเกลือไปซ่อนก็กลัวคนเห็น เลยตกลงใจซ่อนไว้ในน้ำ พระก็เอากาบเกลือทิ้งลงไปในน้ำตรงที่ลึกจนมองไม่เห็น แล้วก็ออกเดินทางตามศรีธนญชัยไปจนทัน ฝ่ายศรัธนญัยไม่เห็นหาบเกลือก็ถามว่า ‘’ พระเอาหาบเกลือไปไว้ที่ไหนเสียล่ะ ‘’ ‘’ เราเอาไปซ่อนไว้ในน้ำเสียแล้ว ‘’ ศรีธนญชัยก็ชวนพระให้กลับไปงมหาแล้วพูดว่า ‘’ ปลาคงจะเอาไปกินเสียแล้วถ้างมได้ปลาดุกขึ้นมาก็ตบหูปลาดุก เงี่ยงปลาดุกก็ตำมือพระ จนทะลุออกมาอีกข้าง พระก็ร้องด้วยความเจ็บปวด และบอกว่าข้าเจ็บมือไปไหนไม่ได้แล้ว เอ็งต้องหามข้าไปนะ ศรีธนญชัยตอบว่า ” พระ เราก็มากันสองคนเท่านั้น จะหามกันไปได้อย่างไรล่ะ

” ศรีธนญชัยก็ปิ่นขึ้นไปบนเขาแล้วก็กลิ้งก้อนกินลงมาทางที่พระนั่งอยู่พร้อม ทั้งตะโกนว่า ‘’ ไม่เสือก็หมี ไม่หนีก็ตายเน้อ ” พระกลัวกินจะตกมาทับก็เลยวิ่ง มาจนถึงวัดก็จัดการเอาปลาดุกตัวที่งมได้นั้นมาปิ้ง สั่งศรีธนญชัยว่าให้เก็บไว้ให้ตนกินบ้าง ศรัธนญชัยกลับกินเสียจนหมด ทิ้งแต่ก้างไว้ให้กิน แล้วไปหาแมลงวันตัวหนึ่งมาขังไว้ในกล่องข้าว พอพระสั่งให้ศรีธนญชัยให้เอาข้าวมาให้ พอเปิดกล่องก็มีแมลงวันบินออกมา ศรีธนญชัยก็บอกว่า ‘’ หมดแล้วแมลงวันกินหมดแล้ว เหลือแต่ก้าง เรามาหลอกฆ่าแมลงวันไหมล่ะหลวงพี่ ‘’ แล้วศรีธนญชัยก็สานตะแกรงมาให้พระแล้วบอกว่า ‘’ ถ้าแมลงวันเกาะผมให้หลวงพี่เอาตะแกรงนี่ตบนะ หากแมลงวันเกาะหลวงพี่ผมจะตีเอาบ้าง ” เมื่อต่างสัญญากันแล้ว พอแมลงวันเกาะศรีธนญชัยพระก็เอาตะแกรงตบเจ็บสักเล็กน้อย แต่พอแมลงวันหนีบินมาเกาะที่ศรีษะพระ พระก็บอกศรีธนญชัยว่า ‘’ เอาเลย ตีเลย ‘’ ศรีธนญชัยก็เอาค้อนตีไปบนหน้าผากพระ จนพระถึงแก่ความตาย เป็นอันว่าการใช้หนี้กรรมการทำเวรกันก็จบเรื่องศรีธนญชัยเบียดเบียนพระเพียง เท่านี้

 

วันหนึ่งศรีธนญชัยนึกอยากไปเล่นหมากรุกกับพระที่วัด เดินจากบ้านมาถึงริมน้ำ

เห็นเณรองค์หนึ่งพายเรือผ่านมา จึงเรียกให้จอดบอกว่า “ขอข้ามเรือสักที” เณรองค์นั้นรีบจอดเรือ

แล้วทำทีเป็นเดินข้ามไปข้ามมา ยอดตลกหลวงเจอดีเข้าแล้วรีบบอกว่า “นี่พ่อเณรขออาศัยนั่งเรือ

ข้ามฟากไปวัดด้วยคน” เณรจึงให้นั่งเรือไปด้วยแต่กลับลุกขึ้นยืนพายอย่างตั้งอกตั้งใจ

ศรีธนญชัยเกรงเรือจะล่มจึงถามไปว่า “ทำไมไม่นั่งพายเล่าพ่อเณร” เณรองค์นั้นก็เอาพายพาดเรือ

แล้วนั่งทับพายไว้ ยอดตลกหลวงเสียทีเณรสองครั้งสองคราติดต่อกันก็คั่งแค้นใจ

เพราะไม่เคยพ่ายแพ้เชาว์ปัญญาใครมาก่อน รีบบอกให้เณรพายเรือเหมือนชาวบ้านชาวเมืองเขา

พายกันตามปกติเถิด เณรจึงถามว่าจะขึ้นตรงไหน ศรีธนญชัยกำลังโกรธก็ว่าจะจอดตรงไหน

ก็ตามใจเถิด เณรเห็นหมู่กอไผ่ขึ้นเรียงรายอยู่ริมตลิ่งจึงเสือกหัวเรือเข้าไป

ยอดตลกหลวงเสียทีเป็นครั้งที่ 3

ต้องลุยหนามไผ่หรือหนามซอเกือบครึ่งค่อนวันจึงหลุดออกมาได้

 

อยู่ต่อมาไม่นานสามเณรซึ่งเฆี่ยนศรีธนญชัยด้วยแส้ปัญญาจนพ่ายแพ้ยับเยิน

นึกอยากรับราชการจึงขออนุญาตโยมพ่อโยมแม่และอุปัชฌาย์สึก แล้วไปถวายตัวกับ

พระเจ้าภูเบศปฎิบัติหน้าที่อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง จนได้เลื่อนขึ้นเป็นนายเวรผู้พิจารณา

ความชั้นต้น

 

วันหนึ่งสองตายายมาร้องเรียนว่าศรีธนญชัยได้ขอยืมเงินไปหนึ่งชั่งห้าตำลึง

บอกสองเดือนจะนำมาคืนให้แต่นี่ผ่านมาปีกว่า ไปทวงครั้งใดก็ทำนิ่งเฉย นายเวรเรียก

คู่ความมาสอบสวน ศรีธนญชัยก็อ้างข้อความในสัญญาบอกสองเดือนจะใช้หนี้ให้ แต่นี่เพิ่ง

เดือนเดียวเท่านั้น จะรีบทวงไปทำไม นายเวรรู้ทันเล่ห์ถามว่าท่านหมายถึงเดือนบนฟ้า

ใช่หรือไม่ เมื่อยอดตลกหลวงรับว่าใช่ นายเวรจึงเรียกมาตัดสินในเวลากลางคืน

พร้อมชี้ให้ดูเดือนบนท้องฟ้ากับเดือนอีกดวงหนึ่งที่ปรากฏเงาอยู่ในน้ำ

รวมเป็นสองเดือนพอดี ศรีธนญชัยจำต้องใช้หนี้คืนโจทก์ไปและชักแน่ใจว่านายเวร

หรืออดีตชาติของสามเณรผู้นี้

คือน้องชายของตนกลับชาติมาเกิดเพื่อแก้แค้นนั่นเอง

 

หลังจากแพ้คดีศรีธนญชัยก็มีแต่ความกลัดกลุ้ม

ใบหน้าเศร้าหมองร่างกายซูบผอม โรคภัยเบียดเบียน

คิดว่าตนคงจะมีชีวิตอยู่ได้ไม่นาน

จึงให้ภรรยาไปเฝ้าพระเจ้าภูเบศว่า ตนมีเรื่องสำคัญจะทูล

พระเจ้าภูเบศเห็นแก่คนใกล้จะตาย อุตส่าห์รีบเสด็จมา

ศรีธนญชัยจึงทูลว่า “การที่จะเสวยปลาหมอปิ้งนั้นให้หมั่นกลับอย่าให้หนังแห้งจึงจะอร่อย”

พระเจ้าภูเบศคลั่งแค้นพระทัยตรัสว่า

“มึงตายเมื่อไรกูจะให้สนมนางในมาเยี่ยวรดกองกระดูกให้สมใจ”

 

ได้ฟังดังนั้น ศรีธนญชัยจึงสั่งภรรยาว่า ให้เอาไม้ลังตังมาเผาศพตนห้ามใช้ไม้อย่างอื่น

เมื่อนางข้าหลวงได้รับพระบัญชาจากพระเจ้าภูเบศก็พากันมาเยี่ยวรดเถ้ากระดูก

ของศรีธนญชัย จึงโดนขุยไม้ลังตังฟุ้งเข้าใส่ในร่มผ้าต่างคันคะเยอ

แหกปากร้องลั่นไปตามๆ กัน

นับว่ายอดตลกหลวงยังคงรักษาเกียรติภูมิ

ความเป็นผู้มีเชาว์ปัญญาไว้ได้จนวาระสุดท้าย

แม้จะใช้ไปในทางฉลาดแกมโกงซะเป็นส่วนใหญ่

เงาะป่า

Posted: มีนาคม 10, 2013 in Uncategorized

คนัง เป็นเงาะป่า อาศัยอยู่ในป่าจังหวัดพัทลุง คนังเป็นเพื่อนกับไม้ไผ่ วันหนึ่งคนังได้ไปชวนไม้ไผ่

ออกไปเที่ยวที่ป่าไปเป่านก หาเผือกหามันตามประสาเงาะป่า ในขณะที่คนังกับไม้ไผ่ปิ้งเผือกอยู่นั้น ซมพลาก

็บังเอิญมาเจอเด็กทั้งสองคนพอดีจึงล้อมวงมาคุยกัน ซมพลาถามถึงลำหับซึ่ง เป็นพี่สาวของไม้ไผ่ ถึงเรื่องการสู่ขอ

ฮเนาว่าบัดนี้ลำหับคิดอย่างไรบ้าง เพราะซมพลาก็ได้หลงรักลำหับมานานแล้ว ฝ่ายไม้ไผ่ก็ไม่ค่อยชอบฮเนา ไม้ไผ่

มีความตั้งใจให้้ลำหับพี่สาวของตนได้แต่งงานกับซมพลา ซมพลาได้ฝากดอกไม้กับเล็บเสือให้กับไม้ไผ่นำไปให้

้กับลำหับแล้ว ฝากข้อความในใจของตนแก่นาง

ฝ่ายนางลำหับได้ฟังที่ไม้ใผ่บอกมานั้น ก็นึกหวาดหวั่นในใจ และไม่คิดจะตอบโต้ไป เช้าวันหนึ่งไม้ไผ่

ได้ชวนลำหับไปเก็บดอกไม้ในป่า(ตามแผนซมพลา)พอดีที่เก็บดอกไม้มานั้นกิ่งไม้ไผ่โน้มลงมา มีงูตัวหนึ่งรัดแขน

ของนางลำหับไว้ นางลำหับตกใจก็เลยสลบไป ส่วนซมพลาที่แอบสุ่มดูก็รีบวิ่งเข้ามาช่วยซมพลาได้ฆ่างู และเข้ามา

ประคองลำหับดูว่าไม่มีรอยกัดจึงโล่งใจ เมื่อลำหับฟื้นขึ้นมาก็ตกใจเพราะว่าซมพลาได้กอดตนอยู่ นางเลยถอย

ออกมา ซมพลาถามถึงอาการและมีประโยคสุดซึ้งว่า”หากเจ้าตายไป พี่นี้จักตายตาม”ลำหับบอกว่าไม่เป็นไรและ

ได้กล่าวขอบคุณซมพลาที่ได้ช่วยตนไว้ และจะตอบแทนบุญคุณจนกว่าชีวิตจะหาไม่

 

การแต่งงานของฮเนากับลำหับที่ฝ่ายผู้ใหญ่ของฮเนาก็ได้ตระเตรียมงานไว้ งานแต่งก็มีขึ้นที่ต้นตะเคียน

ขบวนขันหมากของเจ้าบ่าวเคลื่อนสู่ที่จะทำงานวิวาห์ นางลำหับยังคงนั่งอยู่ในห้องก็ร้อนรนใจ สงสารฮเนาที่มารับตน

ลำหับไม่ได้รักฮเนาแต่ก็ไม่ได้รังเกลียจ นึกถึงซมพลาที่ถูกเนื้อต้องตัว ก็เหมือนเป็นสามีก็ร้องให้เสียใจ ฝ่ายไม้ไผ่ก็

เห็นคนทั้งบ้านวุ่นวายเรื่องการแต่งงาน ก็นำข่าวไปบอกซมพลา ซมพลาได้ฝากไม้ไผ่มาบอกแก่ลำหับว่าจะพาลำหับ

หนี เมื่อได้ฟังอย่างนั้นลำหับก็โล่งใจ จัดการแต่งตัวเพื่อร่วมงานวิวาห์ แล้วขบวนสาวก็มาถึงลานใต้ต้นตะเคียนและ

เริ่มทำพิธีแต่งงาน การแต่งงานที่สมบูรณ์นั้นต้องเข้าป่ากัน ๗ วัน ๗ คืน ฮเนาและลำหับจึงเข้าไปในป่า ฮเนาเข้าไป

ใกล้ลำหับ ลำหับตกใจร้องกรี๊ด อ้ายแคก็ซุ่มอยู่ก็เอาหินขว้างฮเนา ฮเนาโกรธแค้นจึงให้ลำหับ รออยู่ ส่วนตนจะออก

ตามคนที่ขว้างหินใส่ เมื่อฮเนาเดินพ้นไปนั้น ชมพลาได้เข้ามาบอกลำหับว่าจะหนี แล้วก็อุ้มนางไป ด้านฮเนาหาคน

ขว้างไม่เจอ จึงสังหรณ์ใจกลับมาหาลำหับ แต่ก็ไม่พบ จึงเรียกหาทั่วป่าทั้งคืนจนถึงเช้าก็กลับบ้าน ซมพลาได้พา

ลำหับมาอยู่ที่ถ้ำลึกในป่า มีความสัมพันธ์กันลึกซึ้ง เพราะซมพลารักลำหับมาก ส่วนลำหับก็รักซมพลามากเช่นกัน

ซมพลาออกมาหาเสบียงอาหารเพราะที่มีอยู่ใกล้หมดแล้ว ลำหับห้ามไม่ให้ไปเพราะกลัวมีอันตรายดั่งที่ซมพลาฝัน

ในคืนที่ผ่านมา แต่ซมพลาก็หาฟังคำของนางไม่เดินทางไปหาอาหารทิ้งลำหับไว้เบื้องหลัง ด้านฮเนาก็กลับไปเล่าให้

ผู้ใหญ่ฟังเมื่อทุกอย่างได้กระจ่างแล้ว ก็ลงความเห็นว่าซมพลาเป็นคนลักพาตัวนางไป ฮเนาพร้อมรำแก้ว ปองสอง

และปองสุดจึงออกตามหา จนไปพบซมพลระหว่างจะกลับถ้ำ เกิดต่อสู้กันเพราะฮเนาเข้าใจว่า ซมพลาลักพาตัว

นางลำหับไป รำแก้วได้ทีเห็นฮเนาออกห่างซมพลาก็เลยเป่าลูกดออกอาบยาพิษไปโดนหน้าผากซมพลาเข้า ซมพลา

เดินโซซัดโซเซไปเจอลำหับที่เดินตามหาด้วยความเป็นห่วง ซมพลาใกล้จะตายจึงสั่งลาลำหับ ลำหับยิ่งเสียใจไปกัน

ใหญ่คว้ามีดที่อยู่ในมือซมพลาแทงซอกคอตัวเองตาย ฮเนาเห็นเหตุการณ์ และได้ฟังคำพูดทุกอย่างที่ซมพลาร่ำลา

นางลำหับ ปรากฎว่าตนเองเข้าใจผิดหมด ที่จริงลำหับหนีมากับซมพลาเอง ฮเนารักนางลำหับอย่างไม่มีใครแทนที่

ได้ จึงใช้มีดแทงตนเองตาย ทั้งสามตายเคียงกัน รำแก้วและปองสองปองสุดต่างพากันกล่าวสรรเสริญความรักของ

ทั้งสามคน และขุดหลุมฝังทั้งสาม และโปรยดอกไม้ด้วยความอาลัย

อุทัยเทวี

Posted: มีนาคม 10, 2013 in Uncategorized

ณ เมืองบาดาล ธิดาพญานาคหนีมาเที่ยวเมืองมนุษย์และพบรักกับรุกขเทวดาที่สิงสถิตอยู่ในต้นไม้ริมสระน้ำ ธิดาพญานาคตั้งครรภ์รอจนคลอดเป็นไข่ฟองหนึ่ง จึงใช้สไบห่อไข่และพ่นพิษคุ้มครองไว้ก่อนแล้วลงกลับไปเมืองบาดาล บังเอิญมีนางคางคกผ่านมาเห็นจึง กินไข่และตายด้วยพิษพญานาค พอดีกับไข่ฟักเป็นเด็กหญิงซึ่งคิดว่านางคางคกเป็นแม่ของตน จึงอาศัยอยู่ในซากคางคกเน่าๆ

ตายายสองผัวเมียมาตกปลาพายเรือผ่านมาเห็นเข้าก็ช่วยเลี้ยงดูจนโต ตั้งชื่อให้ว่าอุทัยเทวี และอุทัยเทวีได้แต่งงานกับเจ้าชายสุทธราช ซึ่งก่อนแต่งตากับยาก็ได้มีข้อกำหนดว่า ต้องสร้างสะพานทองตั้งแต่วัง จนถึงบ้านตายยายแต่ก็ผ่านไปได้ด้วยดี อุทัยเทวีจึงเป็นสะใภ้แห่งเมืองหลวง มารดาของเจ้าชายไม่ค่อยชอบอุทัยเทวีนัก จึงหาทางให้ลูกของตนเป็นของคนอื่นไป ซึ่งนั่นคือ เจ้าชายต้องไปแต่งงานกับเจ้าหญิงฉันทนา ซึ่งอุทัยเทวีก็ตามไปด้วยตามสัญญา เจ้าหญิงฉันทนาคิดกำจัดอุทัยเทวีโดยฆ่านางอุทัยเทวี แต่พ่อของอุทัยเทวี ช่วยไว้ จึงบอกว่าให้รอแก้แค้นนางฉันทนาอยู่นอกวัง

ต่อมาไม่นานนางฉันทนากลุ้มใจเรื่องผีนางอุทัยเทวีจะมาหลอก หัวจึงหงอก ผมที่เคนดำกลับขาวไปทุกเส้น จึงเอาผ้าพันศีรษะไว้ตลอดเวลา ต่อมานางอุทัยเทวีแปลงกายเป็นแม่ค้าขายขนมแก่ๆผ่านมา ซึ่งผมดำยาวสลวยผิดกับนางฉันทนา นางฉันทนาเห็นเข้าจึง คิดว่ายายแก่คนนี้ก็มีเคร็ดลับในการบำรุงรักษาผมอย่างแน่นอน จึงให้ยายแก่เข้าไปในวัง และให้รักษาผมของตนเองให้ แต่นางอุทัยเทวีก็จะรักษาให้ แต่ต้องยอมให้ทำทุกอย่างห้ามถามอะไรทั้งสิ้น นางฉันทนาตกลง จึงนอนลงแล้วนางอุทัยเทวี ก็เอามีดโกนโกนผมนางฉันทนา ออกจนหมด แล้วกรีดศีรษะนางฉันทนาแล้วเอาปลาร้าให้หม้อครอบหัวนางฉันทนาไว้ และห้ามเอาหม้อออกก่อนวันที่ 7 แต่ไม่ถึงคืนนางฉันทนาทนพิษบาดแผลไม่ไหว จึงสิ้นใจตาย

เจ้าชายสิทธิราช รู้ดังนั้นจึงกลับไปเมืองของตน ซึ่งก็ยังเห็นอุทัยเทวีอยู่ที่เมืองอยู่ก็ทรงโล่งใจ อุทัยเทวี ได้ครองรักกับเจ้าชายอย่างมีความสุขตราบนานเท่านาน

เชิญชวนบุคลากรกองคลังรณรงค์การใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เนื่องในวันภาษาไทย วันที่ 29 กรกฎาคม

mt0-400x264

กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม (2549). 29 ก.ค. นี้ ร่วมรำลึกปูมหลัง วันภาษาไทยแห่งชาติ. (ค้นเมื่อ วันที่ 31 กรกฎาคม 2549). จาก http://modernine.mcot.net/

การที่คนไทยเรา พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยเป็นประจำทุกวัน จนเกิดความเคยชิน อาจจะทำให้หลายๆ คนไม่รู้สึกว่า “ภาษาไทย” มีความสำคัญแค่ไหน และมีคุณค่าเพียงไร หากจะเปรียบก็คงเหมือนกับ “อากาศ” ที่เราหายใจเข้าหายใจออกอยู่ตลอดเวลา จนเราแทบไม่รู้ค่าว่า หากขาดอากาศเมื่อไร เราก็ตายเมื่อนั้น ถึงแม้ว่า “ภาษาไทย” จะไม่เหมือนอากาศที่ทำให้เราถึงกับตาย แต่ถ้าหากชาติไทยเราขาด “ภาษาไทย” เมื่อไร นั่นก็หมายความว่า “ความเป็นชาติ” ส่วนหนึ่งก็สูญสิ้นไปด้วย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้มีพระราชนิพนธ์ตอนหนึ่งว่า “ภาษาเป็นเครื่องผูกพันมนุษย์ต่อมนุษย์ แน่นแฟ้นยิ่งกว่าสิ่งอื่น และไม่มีสิ่งไร ที่จะทำให้คนรู้สึกเป็นพวกเดียวกันแน่นอน ยิ่งไปกว่าพูดภาษาเดียวกัน” คนไทยเราแม้จะต่างเผ่าพันธุ์ ต่างเชื้อชาติ ต่างท้องถิ่น หรือต่างศาสนา แต่เมื่อใดก็ตามที่เราต่างพูด “ภาษาไทย” ทุกคนย่อมรู้สึกได้ทันที ถึงความเป็นพวกเดียวกัน ความเป็นชาติเดียวกัน ดังนั้น “ภาษา” จึงเป็นสิ่งที่จะร้อยรัด และผูกพันคนในชาติ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ยิ่งหากอาศัยอยู่ในต่างประเทศ หรือแม้แต่ไปเที่ยว ถ้าได้ยินใครก็ตามพูด “ภาษาไทย” ขึ้นมา เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ จะเกิดความรู้สึกยินดีว่า เจอพวกเดียวกันแล้ว เจอคนไทยด้วยกันแล้ว

การที่ “ภาษา” เป็นสิ่งสำคัญก็เพราะว่า ภาษาเป็นสื่อเสียง และสื่อสัญลักษณ์ของมนุษยชาติ ที่เกิดจากการสร้างสรรค์ และสั่งสมของบรรพบุรุษสืบทอดมาสู่ลูกหลาน เป็นเครื่องมือที่ทำให้คนในชาตินั้นๆ ติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้ และเป็นเหตุให้วัฒนธรรมในด้านอื่นๆ เจริญขึ้นด้วย หากไม่มี “ภาษา” มนุษย์ก็คงไม่สามารถ สืบทอดวิชาการความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง และไม่อาจพัฒนาหรือรักษา “ความเป็นชาติ” ของตนไว้ได้ “ภาษา” จึงเป็นสมบัติทางวัฒนธรรม ที่ทรงคุณค่ายิ่งของแต่ละชาติ

อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิตยสถาน ได้เคยเขียนคำนำในหนังสือ “ภาษาของเรา” ตอนหนึ่งว่า “ในฐานะที่คนไทยเรา เป็นชาติที่มีวัฒนธรรมของตนเอง มานับเป็นเวลาพันๆ ปี เรามีภาษาพูด ภาษาเขียน และเลขของเราใช้โดยเฉพาะ ซึ่งแม้แต่ชาติที่เจริญ หรือเป็นมหาอำนาจอื่นๆ บางชาติก็หามีครบอย่างเรา ไม่บางชาติอาจจะมีแต่ภาษาพูด ขาดภาษาเขียน หรือบางชาติมีภาษาเขียน มีตัวหนังสือของตัวเอง แต่ขาดเลข ต้องขอยืมของชาติอื่นเขามาใช้ จึงนับว่า เป็นสิ่งที่เราน่าจะภาคภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เราจึงควรที่จะช่วยกันรักษา และส่งเสริมวัฒนธรรมในด้านภาษาของเรา ให้ยืนยงต่อไปตลอดกาล ชาติที่เป็นมหาอำนาจทางอาวุธ แต่ขาดอำนาจในทางวัฒนธรรมนั้น แม้จะเป็นผู้พิชิตทางด้านการทหาร ก็จะถูกพิชิตทางด้านวัฒนธรรม อย่างพวกตาดมองโกล ที่พิชิตเมืองจีน แล้วตั้งราชวงศ์หงวนขึ้นมาครองจีน ในที่สุดก็ถูกพวกจีน ที่มีวัฒนธรรมสูงกว่า กลืนชาติหมด…..วัฒนธรรมจึงนับว่าสำคัญยิ่ง ในอันที่จะพิชิตใจคน การพิชิตทางกายนั้น อาจกลับถูกพิชิตได้ง่าย แต่การพิชิตทางด้านวัฒนธรรมนั้น เป็นการพิชิตทางด้านจิตใจ จึงเป็นการพิชิตที่นุ่มนวล เป็นการพิชิตที่ผู้ถูกพิชิตยอมสมัครใจให้พิชิต วัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งของไทย และเป็นวัฒนธรรมไทยแท้ๆ ก็คือ ภาษา ซึ่งแม้ต่อมา จะมีภาษาอื่นมาปะปนอยู่บ้าง แต่ก็เป็นภาษาที่ถูกเรากลืนให้เป็นไทยหมดแล้วทั้งนั้น จึงนับว่าเป็นภาษาไทยโดยแท้”

อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าเสียดายว่า ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และการพัฒนาประเทศที่ผ่านมา นอกจากจะทำให้วิถีชีวิต ของประชาชนคนไทย เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากมายแล้ว อิทธิพลของกระแสวัฒนธรรมต่างชาติ ที่หลั่งไหลเข้าสู่สังคมไทยอย่างรวดเร็ว รวมทั้งเทคนิคการสื่อสารสมัยใหม่ ยังมีส่วนทำให้ “ภาษาไทย” ที่ใช้ในปัจจุบัน ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน อยู่ในสภาวะเสื่อมโทรมลงอย่างน่าเป็นห่วง เนื่องจากคนไทยเอง ได้ละเลยต่อความสำคัญ ในการใช้ภาษาไทย และมีการใช้ภาษาที่ผิดเพี้ยน ในการสื่อสารมากขึ้นทุกที จนเป็นที่น่าวิตกว่า หากไม่รีบช่วยกันแก้ไข นานไปเอกลักษณ์ และคุณค่าของภาษาไทย อาจสูญหายไปจนหมดสิ้น

ด้วยเหตุนี้ จึงได้มีการเสนอให้รัฐบาลจัดตั้ง “วันภาษาไทย” ขึ้น เพื่อช่วยกระตุ้น และปลุกจิตสำนึกให้คนไทย ได้ตระหนัก และเห็นคุณค่าของภาษาไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรี ก็ได้มีมติเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2542 อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมายุครบ 6 รอบกำหนดให้วันที่ 29 กรกฎาคมของทุกปีเป็น “วันภาษาไทยแห่งชาติ” ตามที่ทบวงมหาวิทยาลัยเสนอ เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และสนองพระมหากรุณาธิคุณ ของพระองค์ท่านในด้านภาษาไทย รวมทั้งเพื่อกระตุ้นให้สถาบันการศึกษา องค์กร หน่วยงานต่างทั้งภาครัฐ เอกชนและประชาชนชาวไทย ได้ตระหนักในความสำคัญของภาษาไทย และร่วมใจกันใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และรักษาภาษาไทย อันเป็นภาษาประจำชาติไว้ให้งดงามยั่งยืนตลอดไป การที่กำหนดเป็นวันนี้ เนื่องจากตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงเสด็จฯ ไปเป็นประธานและทรงร่วมอภิปรายกับผู้ทรงคุณวุฒิ ในการประชุมทางวิชาการของชุมนุมภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2505 เกี่ยวกับปัญหาการใช้คำไทย ซึ่งได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถ และความสนพระราชหฤทัยห่วงใยในภาษาไทย จนเป็นที่ประทับใจ ผู้เข้าร่วมการประชุมครั้งนั้นเป็นอย่างยิ่ง และนับเป็นครั้งแรก และครั้งเดียวในประวัติศาสตร์ของวงการภาษาไทย ที่ได้รับพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว

พระราชดำรัสในครั้งนั้น ตอนหนึ่งความว่า “เรามีโชคดีที่มีภาษาของตนเองแต่โบราณกาล จึงสมควรอย่างยิ่งที่จะรักษาไว้ ปัญหาเฉพาะในด้านรักษาภาษานี้ ก็มีหลายประการ อย่างหนึ่งต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในทางออกเสียง คือให้ออกเสียงให้ถูกต้องชัดเจน อีกอย่างหนึ่ง ต้องรักษาให้บริสุทธิ์ในวิธีใช้ หมายความว่า วิธีใช้คำมาประกอบประโยค นับเป็นปัญหาที่สำคัญ ปัญหาที่สามคือความร่ำรวยในคำของภาษาไทย ซึ่งพวกเรานึกว่าไม่ร่ำรวยพอ จึงต้องมีการบัญญัติศัพท์ใหม่มาใช้…สำหรับคำใหม่ที่ตั้งขึ้นมีความจำเป็นในทางวิชาการไม่น้อย แต่บางคำที่ง่ายๆก็ควรจะมี ควรจะใช้คำเก่าๆที่เรามีอยู่แล้ว ไม่ควรจะมาตั้งศัพท์ใหม่ให้ยุ่งยาก…”นอกจากนี้ ยังมีพระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2512 ความว่า “ในปัจจุบันนี้ ปรากฏว่า ได้มีการใช้คำออกจะฟุ่มเฟือย และไม่ตรงกับความหมายอันแท้จริงอยู่เนืองๆ ทั้งออกเสียงก็ไม่ถูกต้องตามอักขรวิธี ถ้าปล่อยให้เป็นไปดังนี้ ภาษาของเราก็มีแต่จะทรุดโทรม ชาติไทยเรามีภาษาของเราใช้เองเป็นสิ่งอันประเสริฐอยู่แล้ว เป็นมรดกอันมีค่าตกทอดมาถึงเราทุกคน จึงมีหน้าที่จะตัองรักษาไว้ ฉะนั้น จึงขอให้บรรดานิสิตและบัณฑิต ตลอดจนครูบาอาจารย์ได้ช่วยกันรักษาและส่งเสริมภาษา ซึ่งเป็นอุปกรณ์และหลักประกันเพื่อความเจริญวัฒนาของประเทศชาติ”

ในหนังสือ “ภาษาไทยเรานี้มีทำนอง” ของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้กล่าวว่าชาติไทย เป็นชาติที่มีภาษาเป็นของตนเองมาตั้งแต่อดีตกาล บ่งบอกถึงความมีเอกลักษณ์ และศักดิ์ศรีที่น่าภาคภูมิใจ “ภาษาไทย” เป็นภาษาที่มีการจัดวางระเบียบแบบแผน ไว้อย่างประณีตบรรจง มีความอลังการแห่งศิลปะ ของการผสมผสานเรียงร้อยถ้อยคำให้เป็นท่วงทำนองที่ไพเราะ และเหมาะสมอย่างยิ่ง ดังนั้น ในโอกาส “วันภาษาไทย”ที่ 29 กรกฎาคมนี้ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอเชิญชวนให้ทุกท่านได้น้อมรำลึก และปฏิบัติตามพระบรมราโชวาท ด้วยการช่วยกันธำรงรักษา “ภาษาไทย” ที่น่าภาคภูมิใจของเรา ให้เป็นสมบัติอันล้ำค่าสืบทอดต่อไปยังอนุชนรุ่นหลังอย่างถูกต้อง และงดงามตลอดไป
(ขอขอบคุณข้อมูลข่าว… อมรรัตน์ เทพกำปนาท กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม)

จากบทความข้างต้น ขอเชิญชวนให้บุคลากรกองคลังทุกท่านในฐานะลูกพ่อขุนร่วมกันน้อมรำลึกถึงพระบิดาแห่งอักษรไทย พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยไว้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งของชาวไทย

การอ่านภาษาไทย

ข่าวการเมือง หนังสือพิมพ์บ้านเมือง — พฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม 2550 08:48:16 น.

เราภาคภูมิใจที่ประเทศชาติของเรามีภาษาประจำชาติของเราเองพระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับภาษาไทย อันเป็นภาษาประจำชาตินั้น มีความสำคัญและมีความหมายแก่คนทั้งชาติคนไทยรักชาติไทย รักภาษาไทย พูดจาภาษาไทยกันทั่วราชอาณาจักร จะมีภาษาผิดเพี้ยนไปบ้าง เนื่องจากต่างถิ่นฐานภูมิลำเนา

อาทิ เรามีคนไทยพูดจา ภาษาเหนือ, ภาษาอีสาน, ภาษาใต้, ภาษากลาง รวมทั้งภาษาสำเนียงของชาว นครปฐม, กาญจนบุรี, ราชบุรี, สุพรรณบุรี

แต่จะภาษาเหนือ-ใต้-อีสาน หรือ ภาษาคนระยอง, ชลบุรี, ตราด, จันทบุรี รวมแล้วคือ…ภาษาไทยการที่รัฐบาลออกมารณรงค์อนุรักษ์ ภาษาไทย มันสืบเนื่องจากว่า ปัจจุบัน เด็กรุ่นใหม่เริ่มจะพูดภาษาไทยกันไม่ชัด

ไม่รู้ว่าไปเอาอารยธรรม หรือวัฒนธรรมจากไหนมาใช้พูดกันแบบฟังไม่เป็นภาษาไทยพ่อแม่สอนภาษาไทย เด็กฟังภาษาของเด็กรุ่นใหม่ เลยพูดกันไม่ค่อยรู้เรื่อง เด็กเสียผู้เสียคนมันคงเป็นเพราะฟังพ่อแม่สอนด้วยภาษาไทยฟังไม่เข้าใจนับวันๆ ภาษาไทย น่าเป็นห่วง เพราะเยาวชนไทยใช้คำพูดกันจนฟังแทบไม่รู้ว่าเป็นคนไทย พูดภาษาไทย

คุณวิเชียร อินจนา แม่ทัพน้อย น.ส.พ.บ้านเมือง ฟังเด็กรุ่นใหม่คุยกัน แล้วส่ายหน้า

มันคุยกันภาษาอะไรของมันหว่า?

อย่าว่าเด็กพูดภาษาไทยกันไม่รู้เรื่องเลย คุณวิเชียร อินจนา ส่ายหน้าผู้ใหญ่ของเราเองยังพูดจาภาษาไทยไม่เข้าใจกันเลย เห็นมีปัญหากันทุกวัน ก็เพราะพูดกันไม่รู้เรื่องนี่แหละเมื่อ วันมีพิธีทางพุทธศาสนา เนื่องใน วันอาสาฬหบูชา และ วันเข้าพรรษา เมื่อวันที่ 29-30 กรกฎาคม ที่ผ่านมาพุทธศาสนิกชน ต่างเข้าวัดเข้าวาตักบาตรทำบุญกันเป็นที่น่ายินดี บรรดาพิธีกรวิทยุหรือทีวี ทำหน้าที่ได้ถูกต้อง

แนะนำ, ชี้ชวน, ชาวบ้านไปทำบุญ, ทำทาน, ตามครรลองของพุทธศาสนิกชนในพิธีพุทธบูชาวันสำคัญทางศาสนา พิธีกรแต่ละคน พูดภาษาไทย และ พุทธภาษา ได้ชัดเจน คำว่า วันอาสาฬหบูชา อ่านว่า  วันอาสานหะบูชา

ประวัติภาษาไทย

ภาษาไทย เป็นภาษาทางการของประเทศไทย และภาษาแม่ของชาวไทย และชนเชื้อสายอื่นในประเทศไทย ภาษาไทยเป็นภาษาในกลุ่มภาษาไต ซึ่งเป็นกลุ่มย่อยของตระกูลภาษาไท-กะได สันนิษฐานว่า ภาษาในตระกูลนี้มีถิ่นกำเนิดจากทางตอนใต้ของประเทศจีน และนักภาษาศาสตร์บางท่านเสนอว่า ภาษาไทยน่าจะมีความเชื่อมโยงกับ ตระกูลภาษาออสโตร-เอเชียติก ตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ตระกูลภาษาจีน-ทิเบต

ภาษาไทยเป็นภาษาที่มีระดับเสียงของคำแน่นอนหรือวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีน และออกเสียงแยกคำต่อคำ เป็นที่ลำบากของชาวต่างชาติเนื่องจาก การออกเสียงวรรณยุกต์ที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคำ และการสะกดคำที่ซับซ้อน นอกจากภาษากลางแล้ว ในประเทศไทยมีการใช้ ภาษาไทยถิ่นอื่นด้วย

ที่มาของภาษาไทย

คำว่า ไทย หมายความว่า อิสรภาพ เสรีภาพ หรืออีกความหมายหนึ่งคือ ใหญ่ ยิ่งใหญ่ เพราะการจะเป็นอิสระได้จะต้องมีกำลังที่มากกว่า แข็งแกร่งกว่า เพื่อป้องกันการรุกรานจากข้าศึก แม้คำนี้จะมีรูปเหมือนคำยืมจากภาษาบาลีสันสกฤต แต่แท้ที่จริงแล้ว คำนี้เป็นคำไทยแท้ที่เกิดจากกระบวนการสร้างคำที่เรียกว่า ‘การลากคำเข้าวัด’ ซึ่งเป็นการลากความวิธีหนึ่ง ตามหลักคติชนวิทยา คนไทยเป็นชนชาติที่นับถือกันว่า ภาษาบาลีซึ่งเป็นภาษาที่บันทึกพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นภาษาอันศักดิ์สิทธิ์และเป็นมงคล เมื่อคนไทยต้องการตั้งชื่อประเทศว่า ไท ซึ่งเป็นคำไทยแท้ จึงเติมตัว เข้าไปข้างท้าย เพื่อให้มีลักษณะคล้ายคำในภาษาบาลีสันสกฤตเพื่อความเป็นมงคลตามความเชื่อของ ตน ภาษาไทยจึงหมายถึงภาษาของชนชาติไทยผู้เป็นไทนั่นเอง

วิวัฒนาการของภาษาไทย

  • ภาษาไทยมีวิวัฒนาการเป็น ๒ สมัย คือ ภาษาไทยแท้ หรือภาษาไทยดั้งเดิม และภาษาไทยปัจจุบันหรือภาษาไทยประสม ภาษาไทยแท้ หรือ ภาษาไทยดั้งเดิม เป็นภาษาไทยก่อน อพยพเข้ามาอยู่ในสุวรรณภูมิ หรือ แหลมทอง
  • ภาษาไทยปัจจุบัน หรือ ภาษาไทยประสม คือ ภาษาไทยนับตั้งแต่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในสุวรรณภูมิแล้ว

ลักษณะของภาษาไทย
ลักษณะภาษาไทยแท้

ภาษาไทยแท้เป็นภาษาดั้งเดิมประจำชาติไทย  นับถอยหลังตั้งแต่มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศจีน ปัจจุบันขึ้นไปเป็นภาษาในระยะที่ยังไม่ได้ เกี่ยวข้องกับชาติอื่นมากนัก ภาษาไทยมีลักษณะดังนี้

  1. คำส่วนมากเป็นคำโดด คือ คำพยางค์เดียว เช่น พ่อ แม่ มือ แขน ช้าง ม้า ฯลฯ
  2. ไม่ค่อยมีคำควบกล้ำ
  3. คำขยาย อยู่ข้างหลังคำที่ถูกขยาย เช่น บ้านใหญ่    พูดมาก ดียิ่ง  คำที่เขียนตัวหนาเป็นคำขยาย
  4. ถ้าต้องการ สร้าง คำใหม่ ใช้วิธีรวมคำมูลเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดคำประสมขึ้น เช่น โรงเรียน แม่น้ำ พ่อตา
  5. ในการเขียน ใช้ตัวสะกดตรงตามมาตราแม่ กก ใช้ ก สะกด  แม่ กน ใช้ น สะกด แม่ กบ ใช้ บ สะกด เช่น นก กิน กบ
  6. ในการเขียน ไม่ใช้ตัวการันต์ คำทุกคำอ่านออกเสียงได้หมดทุกพยางค์
  7. ไม่มีหลักไวยกรณ์ คือ ระเบียบของภาษาแน่นอนเหมือนภาษาของบางชาติ เช่น บาลี สันสกฤต และอังกฤษ เป็นต้น กล่าวคือ ไม่มีระเบียบพิเศษเกี่ยวกับ พจน์ เพศ วิภัตติ ปัจจัย อุปสรรค กาล มาลา วาจก
  8. เป็นภาษามีเสียงดนตรี นิยมใช้ไม้วรรณยุกต์กำกับเสียง

ลักษณะภาษาไทยปัจจุบัน
เป็นภาษาไทยเริ่มตั้งแต่คนไทยย้ายถิ่นฐานลงมาอยู่ในแหลมทอง ซึ่งเป็นที่ตั้งประเทศไทยทุกวันนี้ เมื่อไทยเข้ามาอยู่ในดินแดนแถบนี้ได้เกี่ยวข้องกับชนหลายชาติหลายภาษา ซึ่งมีระเบียบภาษาแตกต่างไปจากไทย ภาษาของต่างชาติที่เข้ามามีอิทธิพลเหนือภาษาไทยปัจจุบัน คือ บาลี สันสกฤต เขมร ชวา มอญ จีน พม่า มลายู เปอร์เซีย และภาษาของชาติยุโรปบางภาษา เช่น โปรตุเกส และอังกฤษ เป็นต้น เมื่อภาษาไทยต้องเกี่ยวข้องกับภาษาของต่างชาติดังกล่าว ประกอบกับสถานะทางภูมิศาสตร์และเหตุการณ์ทางสังคมเปลี่ยนแปลงเรื่อยมา ภาษาไทยปัจจุบันจึงมีลักษณะผิดเพี้ยนไปจากเดิมมากคือ มีลักษณะพิเศษเพิ่มขึ้นจากภาษาไทยแท้ดังนี้

  1. มีคำหลายพยางค์เพิ่มขึ้น
  2. มีคำควบกล้ำมากขึ้น
  3. มีการสร้างคำใหม่ตามวิธีการสมาส และสนธิของภาษาบาลีและสันสกฤต และตามวิธีแผลงคำตามอย่างภาษาเขมร
  4. ใช้ตัวสะกดไม่ค่อยตรงตามมาตรา ตามอย่างภาษาอื่น เช่น แม่ กก ใช้ ข ค ฆ สะกด แม่ กน ใช้ ญ ณ ร ล ฬ สะกด  แม่ กด ใช้ จ ช ฎ ฏ ฐ ฒ ต ถ ท ธ สะกดเพิ่มขึ้น
  5. มีตัวการัตน์เพิ่มขึ้น

ภาษาสก๊อย โผล่เฟ๊้ซบุ้ก !! ชาวเน็ตหวั่นภาษาไทยวิบัติ 

Mthainews: ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในโลกอินเตอร์เน็ต อย่างเว็บไซต์เฟ้ซบุ้ก มีการใช้ภาษาเฉพาะกลุ่ม ที่เรียกว่า ภาษาสก๊อย โดยมีการนำพยัญชนะภาษาไทยมาดัดแปลงให้ผิดแปลกไปจากเดิม ซึ่งสมาชิกในเฉพาะกลุ่ม(สก๊อย)เท่านั้นที่จะเข้าใจได้

อย่างเช่นในหน้าแฟนเพจ ภาษาสก๊อยก็มีการโพสท์ภาพและข้อความการใช้ภาษาเฉพาะกลุ่มนี้ และในแฟนเพจที่ชื่อว่า “ษม่ค่ล์มนิ๋ญฒสก๊อย” ซึ่งมีสมาชิกกดไลค์กว่า 8,000 คน นอกจากจะมีการใช้ข้อความ ภาษาสก๊อยแล้ว อย่างเช่น

” นุ๊วงงงมั๊ขค๊ พริ๊ค๊าวว์ด๋านุ๊วบั๊บนิ๊นุ๊วฬ้ฮ.หั๊ญเร่รรร แงๆ”
เซิ๋ร์ญฒุ๊ฆทั๊นฉ๊ฒฏรฮณฬ ำฏ่ฮกรร์อณเริ๋ว์งงงง ..ฆุ๊ญซั๊ญฅุ๊ญเพ๋ณณณณ

นุ๊วม่รุ๊วว่จั๊ฆเหฏกษรณ์ก่)๋ฮงเเป๊.แฃร์ข๊งนุ๊ซ์วฏฆสั๊ญแ)้ฯภิ๋ฒพ์ม่ต๊กิ๊ จ่ธั๊ฒหั๊ญพั๊ซ์กพริ๊ๆเฤิร์กรั๊ฆนุ๊ซ์วฤึ๊เป๊ว์า พริ๊ญั๊ย์กจ่เฬ่รกั๊ผนุ๊ซ์วยุ๊ซ์วฤึ๊ป่๊ว์าวค๊ ต่ว๊เพร์ฒนิ๊ธั๊มหั๊ญนุ๊ง์วเห็ฯอ่รั๊ญเย๊ร์อะเย๊ิอ์ะมั๊ขเร่รรค๊ พริ๊ฃิ๊ฆเมิ๊ลนุ๊ซว์ม่คร๊ นุ๊ส์วรั๊ขพริ๊ๆธุ๊ฅฅ๊ณมั๊ฆฆ๊ ร่นุ๊ง์วข่ผคุ๊ฯพริ๊มั๊ขค๊ นุ๊วดั่ญษึ๊ฆสษฅั๊ฒด๋าม่จั๊ขพํ๊ว์กพริ๊เแร๊ซ์ะค๊ นุ๊ฆยั๊กจ่บั๊ว์กอิ๊ฏญั๊.น๊ค๊ ว่ดภษร์ม่กริ๊นุ๊ซ์ว ล้อเล่น

ครัยจ่ว่าสก๊อยส์นู๋วมั่ยสนจัยก๊นู๋วน่ารั๊ขอ๊จร๊ ปอลิง.ค.ถ.เธอว์มั๊ข

ยังมีผู้ที่โพสท์ตักเตือน ในการใช้ภาษาไทยที่จะทำให้เกิดความวิบัติ  บางส่วนวิจารณ์ว่า แม้ว่าจะเป็นภาษาเฉพาะกลุ่ม สก๊อย แต่ด้วยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่ได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น มีความไพเราะเอกลักษณ์ทางภาษา  หากดัดแปลงไป จะเกิดความเสียหายต่อภาษาไทย และถือไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง